วัยเด็กและครอบครัว
โคบี้เป็นลูกชายคนสุดท้องของ Joe "Jellybean" Bryant อดีตนักบาสเกตบอล NBA ทีม Philadephia 76ers ส่วนมารดาชื่อ Pamela Cox Bryant พ่อแม่ตั้งชื่อ โคบี้ หรือ โกเบ (Kobe) ตามชื่อ เนื้อโกเบ เนื้อชื่อดังของประเทศญี่ปุ่นซึ่งพวกเขาเห็นในเมนูร้านอาหารแห่งหนึ่ง โคบี้มีพี่สาวสองคนชื่อ Sharia และ Shaya
เมื่อโคบี้อายุได้ 6 ขวบ คุณพ่อของเขาออกจากสมาคมบาสเก็ตบอลเอ็นบีเอ และพาครอบครัวไปย้ายไปอยู่ที่ประเทศประเทศอิตาลี เพื่อเล่นบาสเก็ตบอลอาชีพที่นั่น โคบี้ต้องปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตใหม่ๆ และฝึกหัดพูดภาษาอิตาลีและภาษาสเปนจนคล่องแคล่ว ในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โคบี้จะเดินทางกลับมายังสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมแข่งขันบาสเก็ตบอลลีกฤดูร้อน (Summer League) โคบี้เริ่มเล่นบาสเก็ตบอลตั้งแต่อายุ 3 ขวบ และช่วงวัยเด็กเขายังเล่นซ็อกเกอร์(ฟุตบอล)ด้วย ทีมโปรดของเขาคือทีม เอซี มิลาน(AC Milan) เขาเคยบอกว่า ถ้าเขายังอยู่ในอิตาลี เขาอาจจะลองพยายามเป็นนักฟุตบอลอาชีพ นักฟุตบอลที่เขาชื่นชอบ คือ แฟรงค์ รายการ์ด และ โรนัลดิญโญ่
คุณพ่อของโคบี้ เกษียณจากการเล่นบาสเก็ตบอลในอิตาลีเมื่อปีพ.ศ. 2534 และครอบครัวเขาได้ย้ายกลับสหรัฐอเมริกา
มัธยมปลาย
ไบรอันต์เริ่มเป็นที่รู้จักในระดับประเทศเมื่อเขาสร้างผลงานกับทีมบาสเก็ตบอลของ Lower Merion High School ในเมืองฟิลาเดเฟีย ทีมเป็นที่รู้จักในชื่อทีม Aces ในปีที่สองที่เขาเล่นนั้น พ่อของเขาได้มาเป็นโค้ชให้กับทีมด้วย หลังจากนั้น ในค่ายบาสเก็ตบอล Adidas ABCD camp โคบี้แสดงฝีมือจนได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าประจำปี 1995 สำหรับผู้เล่นปีสุดท้าย ในการแข่งขันนั้นโคบี้ได้เล่นทีมเดียวกับ ลามารื โอดอม ซึ่งปัจจุบันคือเพื่อนร่วมทีม LA Lakers ใน NBA ด้วย ระหว่างที่เขาเล่นบาสเก็ตบอลมัธยมปลายอยู่นั้น John Lucas โค้ชของทีม Philadephia 76ers ใน NBA ได้เรียกตัวเขาไปฝึกซ้อมด้วย และให้โอกาสเขาได้เล่นตัวต่อตัวกับดาราชื่อดังของทีมในขณะนั้น คือ Jerry Stackhouse ในปีสุดท้ายของมัธยม โคบี้พาทีมคว้าแชมป์ของรัฐได้สำเร็จ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 53 ปีของทีม ด้วยผลงานเฉลี่ยต่อเกม 30.8 คะแนน 12 รีบาวน์ 6.5 แอสซิสต์ 4 สตีล 3.8 บล็อก นำทีม Aces ชนะ 31 แพ้ 3 โคบี้จบการเล่นบาสเก็ตบอลระดับมัธยมด้วยการเป็นผู้เล่นที่ทำคะแนนรวมสูงสุดตลอดกาลของ เพนซิลเวเนียตอนใต้ คือ 2,883 คะแนน แซงหน้านักบาสเก็ตบอลระดับตำนานทั้ง Wilt Chamberlain และ Lionel Simmons เขายังได้รับรางวัลมากมายจากผลงานการเล่นปีสุดท้ายของเขา ไม่ว่าจะเป็นรางวัล Naismith High School Player of the Year, Gatorade Men's National Basketball Player of the Year, McDonald's All-American และ SA Today All-USA First Team player ในปี 1996 โคบี้สร้างความฮือฮาโดยการพา Brandy Norwood นักร้อง R&B สาวชื่อดังไปที่งานเต้นรำเมื่อจบการศึกษา แต่เขาทั้งสองก็เป็นเพียงแค่เพื่อนกันเท่านั้น ถึงแม้ว่าโคบี้จะสอบวัดระดับ SATได้ถึง 1,080 คะแนน และมีทุนการศึกษาสำหรับนักกีฬาจากหลายต่อหลายมหาวิทยาลัยรออยู่ แต่ไบรอันต์วัย 17 ปี ก็ตัดสินใจที่จะเข้าสู่วงการบาสเก็ตบอลอาชีพ NBA แทน ทำให้เขาเป็นถูกรุมล้อมไปด้วยสื่อมากมายที่ยังไม่คุ้นเคยกับเด็กที่จบมัธยมแล้วเลือกจะเข้าเป็นนักบาสเก็ตบอล NBA โดยไม่เรียนมหาวิทยาลัยก่อน โคบี้เคยกล่าวว่า ถ้าหากเขาเลือกเรียนมหาวิทยาลัย เขาจะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University)
บาสเกตบอลอาชีพ NBA
NBA Draft ปี 1996
ผู้เล่นตำแหน่งการ์ดคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเลือกเข้าสู่ NBA ตั้งแต่จบมัธยมปลาย ไบรอันต์ได้รับเลือกเป็นอันดับที่ 13 จากการดร๊าฟรอบแรกโดยทีม Charlotte Hornets ในปี 1996 อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของไบรอันต์ในขณะนั้นเห็นว่าโคบี้ไม่ควรจะเล่นให้กับทีมชาร์ล็อตต์ และชาร์ล็อตต์เองก็คิดที่จะแลกเปลี่ยนตัวผู้เล่นกับทีมเลเกอร์สอยู่แล้ว ก่อนหน้าการดร้าฟตัวผู้เล่นนั้น โคบี้มีโอกาสได้ร่วมฝึกซ้อมกับทีมในลอสแอนเจลิส ซึ่งเขาได้ต่อกรในสนามกับอดีตผู้เล่นของเลเกอร์ส คือ Larry Drew และ Michael Cooper จนสะดุดตา Jerry West ผู้จัดการทีมในขณะนั้น ในที่สุดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 1996 West ตัดสินใจแลกตัวผู้เล่นเซ็นเตอร์ตัวจริงของทีมเลเกอร์ส คือ Vlade Divac ไปให้ทีมฮอร์เน็ตส์ เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการดร้าฟตัวไบรอันท์ และเนื่องจากโคบี้เพิ่งอายุได้ 17 ปี พ่อแม่ของเขาต้องร่วมเซ็นสัญญากับเลเกอร์ส จนกระทั่งโคบี้สามารถเซ็นสัญญาเองได้เมื่ออายุครบ 18 ปี ก่อนจะเปิดฤดูกาล
สามฤดูกาลแรก (ปี 1996-99)
ช่วงปีแรกนั้น ไบรอันท์ต้องเป็นตัวสำรองให้กับการ์ดรุ่นพี่อย่าง Eddie Jones และ Nick Van Exel ในขณะนั้น โคบี้คือผู้เล่นที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์(ปัจจุบันสถิตินี้โดนทำลายโดยเพื่อนร่วมทีมเลเกอร์ส ชื่อAndrew Bynum) และยังเป็นผู้เล่นตัวจริงที่อายุน้อยที่สุดที่เคยมีมาด้วย ในช่วงเริ่มต้นเขาอาจไม่ได้ลงเล่นมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขาก็มีโอกาสได้ลงเล่นมากขึ้น เขาจบฤดูกาลแรก (1996-97) ด้วยเวลาลงสนามเฉลี่ย 15.5 นาทีต่อเกม สร้างชื่อจนกลายเป็นจอมเหินเวลาและขวัญใจของแฟนๆด้วยการคว้าแชมป์ Slam Dunk Contest ได้รับเลือกให้ติดทีมอันดับสองของ NBA All Rookies พร้อมกับเพื่อนร่วมทีม ชื่อ Travis Knight นาทีสุดท้ายของฤดูกาลนั้นของเขาจบลงด้วยหายนะ เมื่อชู้ตบอลพลาดแบบไม่โดนห่วง (air ball) ถึง 3 ครั้ง ในช่วงเวลาสำคัญ คือ ลูกแรกเขาชู้ตสุดท้ายที่จะทำให้ทีมชนะพลาด ก่อนจะหมดเวลาปกติ ทำให้เกมต้องเข้าสู่ช่วงต่อเวลา และในช่วงท้ายของการต่อเวลายังยิงสามคะแนนพลาดอีก 2 ครั้ง ทำให้ทีมเลเกอร์สต้องตกรอบแรกใน Playoffs (ระบบแพ้คัดออก เล่นแบบชนะ 4 ใน 7 เกม) ให้กับทีม Utah Jazz หลังการแข่งขัน ชาคีล โอนีล(Shaquille O'Neal) เพื่อนร่วมทีมในตอนนั้น ให้ความเห็นว่า "ไบรอันต์เป็นคนเดียวในตอนนั้นที่กล้าพอจะชู้ตลูกเหล่านั้น"
ในปีที่สองของการเล่น โคบี้ได้โอกาสลงเล่นมากขึ้น และเริ่มแสดงฝีมือให้เห็นว่าเขาเป็นการ์ดหนุ่มที่มีพรสวรรค์ เขาทำคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปีแรกจาก 7.6 เป็น 15.4 แต้มต่อเกม เขาได้ลงเล่นมากขึ้นเมื่อเลเกอร์สใช้แผน "ผู้เล่นตัวเล็ก" ทำให้โคบี้รับตำแหน่งปีกตัวเล็ก (Small Forward) และได้ลงเล่นพร้อมกับการ์ดรุ่นพี่ที่เขาต้องเป็นตัวสำรองให้เป้นประจำ แม้ว่าจะได้แค่อันดับรองและพลาดตำแหน่งผู้เล่นสำรองยอดเยี่ยม (NBA's Sixth Man of The Year)ไป แต่ด้วยความนิยมจากแฟนๆ ทำให้เขาได้รับเลือกให้ติดทีมรวมดารา และกลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ NBA ที่ได้เป็นตัวจริงในเกมรวมดารา NBA All-Star ปีนั้น เพื่อนร่วมทีมของเขาคือShaquille O'Neal, Eddie Jones และ Nick Van Exel ก็ได้รับคะแนนเสียงจากแฟนเช่นกัน ทำให้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1983 ที่มีผู้เล่นจากทีมเดียวกันถึง 4 คนได้ร่วมทีมเดียวกันในเกมรวมดารา คะแนนเฉลี่ย 15.4 คะแนนของโคบี้ยังเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับผู้เล่นที่ไม่ได้เป็นตัวจริงของทีมในฤดูกาลปกติอีกด้วย
ในฤดูกาล 1998-99 ขึ้นมาเป็นการ์ดแนวหน้าของลีกอย่างรวดเร็ว เมื่อการ์ดตัวจริงทั้งสองคน คือ Nick Van Exel และ Eddie Jones ถูกเทรดออกไป โคบี้ลงเล่นเป็นตัวจริงทุกเกมตลอด 50 เกม ในปีที่ NBA มีปัญหา lockout ระหว่างฤดูกาลนั้น โคบี้ได้ต่อสัญญากับทีมออกไปอีก 6 ปี เป็นมูลค่า 70 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้เขาได้อยู่กับทีมเลเกอร์สไปจนถึงฤดูกาล 2003-04 แม้ว่าเขาเพิ่งจะเริ่มอาชีพการเล่นบาสเก็ตบอลได้ไม่นาน แต่สื่อกีฬาต่างๆก็เริ่มเปรียบเทียบความสามารถของเขากับผู้เล่นระดับโลกอย่าง Michael Jordan และ Magic Johnson แล้ว อย่างไรก็ตาม ใน playoffs ปีนั้น เลเกอร์สก็โดน San Antonio Spurs กวาดเรียบ 4 เกมรวดในเกมรอบชิงชนะเลิศของฝั่งตะวันตก (Western Conference semi-finals)
แชมป์ 3 สมัยซ้อน (ปี 2000-02)
ในไม่ช้าชะตาชีวิตของไบรอันท์ก็เปลี่ยนไปเมื่อ Phil Jackson เข้ามารับหน้าที่โค้ชให้กับทีม LA Lakers ในปี 1999 หลังจากพัฒนาตัวเองมาหลายปี โคบี้กลายมาเป็นผู้เล่นตำแหน่งการ์ดตัวทำคะแนน (Shooting Guard) ชั้นแนวหน้า ได้รับเลือกให้ติดทีม All-NBA, All-Star และ All-Defensive ปีนี้ ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส กลายมาเป็นทีมเต็งที่จะได้แชมป์ ภายใต้การนำทีมของ โคบี้ ไบรอันท์ และ ชาคีล โอนีล ที่ผสมผสานการเล่นของเซ็นเตอร์กับการ์ดได้อย่างยอดเยี่ยม และด้วยแผนการบุกแบบสามเหลี่ยม (Triangle Offense) ซึ่ง ฟิล แจ็กสัน เคยใช้พาทีม Chicago Bulls คว้าแชมป์ไปแล้วถึง 6 สมัย ก็ทำให้ทั้งสามคนพาทีม เลเกอร์สได้แชมป์ NBA ถึง 3 ปีซ้อน ในปี 2000, 2001 และ 2002
โคบี้เริ่มต้นฤดูกาล 1999-2000 ด้วยการพลาดการลงสนามถึง 6 สัปดาห์เมื่อเขาได้รับบาดเจ็บที่มือ ในเกมอุ่นเครื่องก่อนเริ่มฤดูกาลที่แข่งกับทีม Washington Wizards เมื่อเขากลับมาลงสนามได้ เขาลงเล่นมากกว่า 38 นาทีต่อเกม และทำผลงานเฉลี่ยต่อเกมสูงขึ้น รวมถึงการเป็นผู้เล่นที่ทำ แอสซิสต์และสตีล สูงสุดของทีมด้วย คู่หูโอนีลกับไบรอันท์พร้อมด้วยเพื่อนร่วมทีมที่แข็งแกร่งพาทีมชนะถึง 67 เกม เป็นสถิติการชนะสูงสุดเป็นอันดับ 5 ในประวัติศาตร์ NBA โอนีลได้รับตำแหน่งผู้เล่นทรงคุณค่าในฤดูกาลปกติ และโคบี้ได้รับเลือกให้ติดทีมผู้เล่นยอดเยี่ยมอันดับสอง (All-NBA Second Team) และ ทีมรับยอดเยี่ยม (All Defensive Team) เป็นครั้งแรกในชีวิต(เป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเลือกติดทีมรับยอดเยี่ยม) ขณะที่ต้องรับบทพระรองของทีมในรอบเพลย์ออฟ ไบรอันต์ก็มีผลงานที่โดดเด่น รวมถึงการทำ 25 คะแนน 11 รีบาวน์ 7 แอสซิสต์ และ 4 บล็อก ในเกม 7 ของรอบชิงชนะเลิศฝั่งตะวันตก ที่เลเกอร์ส เจอกับ Portland Trail Blazers เขายังเป็นคนส่งบอลทำ alley-oop ให้กับโอนีลทำให้ทีมชนะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศด้วย ในรอบชิงชนะเลิศ พวกเขาต้องพบกับทีม Indiana Pacers ไบรอันต์ได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าใชช่วงควอเตอร์ที่ 2 ของเกมที่ 2 ต้องออกจากการแข่งขัน และไม่ได้ลงเล่นในเกมที่ 3 เมื่อเขากลับมาลงเล่นในเกมที่ 4 ไบรอันต์ทำคะแนนไป 22 คะแนนในครึ่งหลัง เขาต้องขึ้นเป็นผู้นำทีมเมื่อ โอนีล ทำ ฟาวล์เอ้าท์ ต้องออกจากการแข่งขัน ในช่วงท้ายของการต่อเวลา โคบี้ชู้ตทำคะแนนสุดท้ายให้ทีมขึ้นนำ 120-118 และด้วยชัยชนะในเกมที่ 6 ทำให้เลเกอร์สได้กลับมาครองแชมป์อีกครั้งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1988
ถ้าดูตามสถิติแล้ว ในฤดูกาล 2000-01 โคบี้ทำผลงานได้แทบไม่ต่างกับฤดูกาลก่อนหน้า นอกจากทำคะแนนเฉลี่ยได้มากขึ้นถึง 6 คะแนนต่อเกม(28.5) เป็นอีกปีนึงที่เขาทำแอสซิสต์สูงสุดในทีม ปีนี้ยังเป็นปีที่ความไม่ลงรอยกันระหว่างโอนีลกับไบรอันต์เริ่มที่จะเปิดเผยมากขึ้น อย่างไรก็ตามเลเกอร์สก็ยังชนะได้ถึง 56 เกม แม้จะน้อยกว่าปีที่แล้ว 11 เกม และทำสถิติในรอบเพลย์ออฟด้วยการชนะ 15 แพ้ 1 ด้วยการกวาด Portland Trail Blazers, Sacramento Kings และ San Antonio Spurs ก่อนที่จะแพ้เกมแรกในรอบชิงชนะเลิศ กับ Philadephia 76ers ในช่วงต่อเวลา แล้วกลับมาชนะ 4 เกมรวดคว้าแชมป์สมัยที่ 2 ติดต่อกัน ไบรอันต์ได้ลงสนามมากกว่าเดิมในช่วงเพลย์ออฟและทำให้ผลงานเฉลี่ยของเขาเพิ่มขึ้นเป็น 29.4 คะแนน 7.3 รีบาวน์ 6.1 แอสซิสต์ต่อเกม และในช่วงเพลย์ออฟนั้นเอง แชคีล โอนีล เพื่อนร่วมทีมประกาศว่า โคบี้คือผู้เล่นที่ดีที่สุดในเอ็นบีเอ ไบรอันต์ได้รับเลือกให้ติดทีมยอดเยี่ยมอันดับสอง (All-NBA Second Team) และ ทีมรับยอดเยี่ยม (NBA All Defensive Team) เป็นปีที่สองติดต่อกัน และยังได้รับเลือกให้ติดทีมรวมดารา (NBA All-Star) เป็นผู้เล่นตัวจริง เป็นปีที่สามติดต่อกันด้วย (เว้นปี 1999 ที่ไม่มีการแข่งขัน All-Star)
ในฤดูกาล 2001-02 โคบี้ลงสนามในฤดูกาลปกติถึง 80 เกมเป้นครั้งแรกในอาชีพการเล่น เขายังคงทำผลงานเฉลี่ยต่อเกม 25.2 คะแนน 5.5 รีบาวน์ 5.5 แอสซิสต์ ซึ่งเป็นการทำแอสซิสต์สูงที่สุดในทีมอีกครั้งนึง เขาสถิติที่ดีที่สุดในอาชีพการเล่นด้วยการชู้ตที่แม่นยำถึง 46.9% ได้รับเลือกให้ติด ทีมรวมดารา และ ทีมรับยอดเยี่ยม อีกครั้ง และได้รับเลือกให้ติด ทีมยอดเยี่ยมอันดับหนึ่ง (All-NBA First Team) เป็นครั้งแรกในชีวิต เลเกอร์สชนะ 58 เกม เป็นอันดับสองของฝั่งตะวันตก รองจากคู่แข่งร่วมรัฐ คือ ซาคราเมนโต้ คิงส์ ถนนในรอบเพลย์ออฟไม่ได้โรยด้วยกลับกุหลาบสำหรับเลเกอร์สเหมือนปีที่ผ่านมา แม้พวกเขาจะกวาด พอร์ตแลนด์ในรอบแรก เอาชนะ สเปอร์ส 4-1 เกม แต่พวกเขาเสียเปรียบ ซาคราเมนโต้ เนื่องจากทำอันดับได้แกว่าตอนฤดูกาลปกติ และต้องกลับไปเล่นที่บ้านของ ซาคราเมนโต้ ในเกมสุดท้าย เพราะการแข่งขันยื้ดเยื้อไปถึงเกมที่ 7 เป็นครั้งแรกที่เลเกอร์สต้องแข่งถึงเกมสุดท้ายแบบนี้ในรอบชิงชนะเลิศของฝั่งตะวันตก นับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ตาม เลเกอร์สก็สามารถเอาชนะและเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ในรอบชิงชนะเลิศ ไบรอันท์ ทำคะแนนเฉลี่ย 26.8 แต้ม ด้วยเปอร์เซนต์การชู้ต 51.4% รีบาวน์ 5.8 ครั้ง และแอสซิสต์ 5.3 ครั้งต่อเกม รวมถึงทำคะแนนรวมเท่ากับ 1 ใน 4 ของคะแนนรวมของทีม ด้วยวัยเพียง 23 ปี เขากลายเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้แชมป์ NBA 3 สมัย การเล่นของเขาเป็นที่จดจำและยกย่องในการเล่นช่วงควอร์เตอร์ที่ 4 ของเกม โดยเฉพาะในสองรอบสุดท้ายของเพลย์ออฟ ทำให้เขามีชื่อในการเป็นผู้เล่นที่ทีมพึ่งพาได้ในช่วงเวลาสำคัญ
ไปไม่ถึงฝั่งฝัน (ปี 2002-2004)
ในฤดูกาล 2002-03 ไบรอันท์ทำคะแนนเฉลี่ย 30 แต้มต่อเกม และจารึกประวัติศาสตร์ด้วยการทำคะแนน 40 แต้มหรือมากกว่า ติดต่อกันถึง 9 เกม ทำให้เดือนกุมภาพันธ์ เขาทำคะแนนเฉลี่ย 40.6 แต้มต่อเกม และในฤดูกาลเดียวกันนี้เอง เขายังทำ 6.9 รีบาวน์ 5.9 แอสซิสต์ และ 2.2 สตีลต่อเกมอีกด้วย โคบี้ได้รับโหวตให้ติดทีม All-NBA และ All-Defensive 1st Team อีกครั้ง และมาเป็นอันดับ 3 ในการโหวตให้รับรางวัล MVP หลังจากทำสถิติ ชนะ 50 แพ้ 32 ครั้ง ในฤดูกาลปกติ เลเกอร์ส กลับพ่ายแพ้ให้กับ ซานอันโตนิโอ สเปอร์ส ในรอบรองชนะเลิศฝั่งตะวันตก ก่อนที่สเปอร์จะเข้าไปคว้าแชมป์เอ็นบีเอได้ใน 6 เกม
ฤดูกาลถัดมา 2003-2004 เลเกอร์ส ได้ตัวผู้เล่นระดับออลสตาร์ อย่าง Karl Malone และ Gary Payton มาร่วมทีมเพื่อจะมุ่งสู่การคว้าแชมป์เอ็นบีเออีกครั้ง ก่อนฤดูกาลแข่งขันจะเริ่มต้น โคบี้ ไบรอันท์ ถูกจับกุมข้อหาล่วงลัเมิดทางเพศ ทำให้เขาพลาดการลงสนามบางเกมเนื่องจากต้องไปปรากฎตัวที่ศาล หรือบางครั้งต้องไปขึ้นศาลก่อนแล้วจึงเดินทางตามมาที่สนามแข่งขันในวันเดียวกัน ในเกมสุดท้ายของฤดูกาลปกติ โคบี้ชู้ตลูกสุดท้ายก่อนหมดเวลาถึง 2 ครั้ง ทำให้ทีมชนะเป็นผู้นำในฝั่ง Pacific Division ช่วงสุดท้ายของควอเตอร์ที่ 4 ไบรอันท์ยิงสามแต้ม ทำให้คะแนนเสมอกันและต้องต่อเวลา เกมสูสียืดเยื้อจนต้องต่อเวลาเป็นครั้งที่สอง ก่อนที่ไบรอันท์จะยิงลูกสุดท้ายให้เลเกอร์สชนะไป 105-104 คะแนน ทีมที่ประกอบไปด้วยผู้เล่นตัวจริงซึ่งน่าจะได้เข้าสู่หอเกียรติยศในอนาคตทั้ง 4 คนอย่าง โอนีล, มาโลน, เพย์ตัน และไบรอันท์ นำพาทีมให้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้อีกครั้ง แต่ทีม Detroit Pistons ก็ดับฝันของพวกเขาใน 5 เกม ในรอบเพลย์ออฟนั้น โคบี้เฉลี่ยต่อเกม 22.6 คะแนน กับ 4.4 แอสซิสต์ และชู้ตเพียง 35.1% เมื่อฤดูกาลสิ้นสุดลง ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของทีมก็เกิดขึ้นเมื่อ โค้ช Phil Jackson ไม่ได้ต่อสัญญาและ Rudy Tomjanovich มารับช่วงเป็นโค้ชต่อ ผู้เล่นหลักอย่าง แชคีล โอนีล โดนเทรดไปอยู่ ไมอามี่ ฮีท แลกกับ ลามาร์ โอดอม, คารอน บัตเลอร์ และ ไบรอัน แกรนท์ ส่วนโคบี้ก็ปฏิเสธข้อเสนอของ Los Angeles Clippers และจรดปากกาเซ็นสัญญา 7 ปี กับ เลเกอร์ส
ความผิดหวังในรอบเพลย์ออฟ (ปี 2004-07)
ไบรอันท์ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงฤดูกาล 2005-06 ด้วยชื่อเสียงที่ย่ำแย่จากสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในปีก่อน เรื่องเสียหายเรื่องหนึ่งก็คือคำวิพากษ์วิจารณ์ของ อดีตโค้ช ฟิล แจ็กสัน ที่เขียนไว้ในหนังสือ The Last Season: A Team in Search of its Soul ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆในฤดูกาล 2003-04 ในหนังสือนั้น แจ็กสัน กล่าวถึงโคบี้ว่า เป็นคนที่ "ไม่สามารถที่จะโค้ช(สั่งสอนแนะนำ)ได้"
ฤดูกาลผ่านไปได้แค่ครึ่งทาง รูดี้ ทอมจาโนวิช ก็ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าโค้ชของเลเกอร์สกระทันหันด้วยปัญหาสุขภาพ ทำให้ผู้ช่วยโค้ช แฟรงก์ แฮมเบล็น ต้องมารับหน้าที่แทน แม้ว่าโคบี้จะทำคะแนนเฉลี่ยต่อเกมสูงสุดเป็นอันดับสองของลีก แต่เลเกอร์สก็ล้มลุกคลุกคลานและไม่สามารถเข้ารอบเพลย์ออฟได้เป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ ทำให้โคบี้โดนลดระดับโดยรวมลง ไม่ได้รับเลือกให้ติดทีมรับยอดเยี่ยม ถูกลดไปอยู่ในทีม All-NBA อันดับสาม ในระหว่างฤดูกาลนั้นไบรอันต์ยังไปมีเรื่องมีราวกับ เรย์ อัลเลน และ คาร์ล มาโลน ด้วย
ฤดูกาล 2005-06 เรียกได้ว่าเป็นทางแยกสำคัญในอาชีพนักบาสเก็ตบอลของไบรอันต์ เมื่อ ฟิล แจ็กสัน กลับเข้ามาคุมทีมอีกครั้ง ไบรอันต์เห็นพ้องกับทีมที่นำโค้ชกลับมา และทั้งสองก็ทำงานด้วยกันได้อย่างดี ช่วยกันพาทีมกลับเข้าสู่รอบเพลย์ออฟได้อีกครั้ง การทำคะแนนของไบรอันต์พุ่งขึ้นสูงสุดในชีวิตการเล่นอาชีพ วันที่ 20 ธันวาคม 2005 เขาทำคะแนนได้ 62 คะแนน ในสามควอเตอร์ ที่เจอกับ ดัลลัส มาเวอริกส์ เมื่อเข้าสู่ควอเตอร์ที่สี่ ไบรอันต์ก็ทำคะแนนมากกว่าทีมมาเวอริกส์ทั้งทีมไปแล้วด้วยคะแนน 62-61 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่มีผู้เล่นทำแบบนี้ได้ในเวลาแค่ สามควอเตอร์ นับตั้งแต่ปรับเวลา shot clock มาเหลือ 24 วินาที ต่อมาเมื่อเลเกอร์สพบกับทีม ไมอามี่ ฮีท ในวันที่ 16 มกราคม 2006 ไบรอันต์ กับ ชาคีล โอนีล ก็กลายเป็นหัวข้อข่าวดังเมื่อทั้งสองจับมือและกอดกันก่อนเริ่มเกม นับเป็นการสิ้นสุดความขัดแย้งระหว่างทั้งสองที่ยาวนานมาตั้งแต่ โอนีล ออกจากลอสแองเจลีสไป หนึ่งเดือนต่อมาในเกม All-Star 2006 ทั้งสองก็ยังพูดคุยหัวเราะกันหลายต่อหลายครั้ง
วันที่ 22 มกราคม 2006 ไบรอันต์ทำคะแนน 81 แต้ม ในเกมที่เอสชนะ โตรอนโต้ แร็ปเตอร์ส ไปได้ 122-104 นอกจากจะเป็นการทำลายสถิติสูงสุดของทีม ที่ เอลกิ้น เบย์เลอร์ เคยทำไว้ 71 คะแนนแล้ว ยังเป็นการทำคะแนนสูงสุดอันดับสองในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอ เป็นรองเพียงแค่ วิลท์ แชมเบอร์เลน ที่ทำไว้ 100 แต้มเมื่อปี 1962 เท่านั้น ในเดือนเดียวกันนั้นเอง โคบี้ยังกลายเป็นผู้เล่นคนแรกนับแต่ปี 1964 ที่ทำคะแนน 45 แต้มหรือมากกว่า 4 เกมติดต่อกัน มีเพียงแชมเบอร์เลน และเบย์เลอร์เท่านั้นที่เคยทำแบบนี้ได้ สถิติในเดือนมกราคมของไบรอันท์ ทำคะแนนเฉลี่ย 43.4 แต้มต่อเกม สูงสุดเป็นอันดับแปดในประวัติศาสตร์การทำคะแนนเฉลี่ยในเดือนเดียวของเอ็นบีเอ และเป็นคนเดียวที่ทำได้นอกจาก แชมเบอร์เลน เมื่อจบฤดูกาล 2005-06 ไบรอันต์จารึกประวัติศาสตร์ของทีมในหนึ่งฤดูกาล ในการทำคะแนนมากกว่า 40 แต้ม (27 เกม)และทำคะแนนรวมสูงสุด 2,832 แต้ม เขาได้รางวัลผู้เล่นที่ทำคะแนนสูงสุดในลีกเป็นครั้งแรก (35.4 แต้มต่อเกม) จากการโหวตผู้เล่นทรงคุณค่าแห่งปี 2006 เขาได้คะแนนรวมเป็นอันดับสี่ แต่ได้รับการโหวตให้เป็นอันดับหนึ่งถึง 22 เสียง เป็นรองเพียงแค่ผู้ชนะคือ สตีฟ แนช ทีม ลอส แองเจลีส เลเกอร์ส ทำสถิติ ชนะ 45 แพ้ 37 ชนะมากกว่าฤดูกาลก่อนหน้า 11 เกม และผู้เล่นทั้งทีมดูจะเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ต่อมาในฤดูกาลนั้น มีข่าวว่า ไบรอันต์ จะเปลี่ยนหมายเลขเสื้อ จากหมายเลข 8 เป็นหมายเลข 24 เมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 2006-07 หมายเลขเสื้อของไบรอันท์ที่เขาใส่เป็นครั้งแรกตอนเรียนมัธยมปลายคือ เบอร์ 24 ก่อนจะเปลี่ยนไปใส่เบอร์ 33 หลังจากฤดูกาลจบลง โคบี้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว TNT ว่าเขาอยากใส่เบอร์ 24 มาตั้งแต่ตอนเริ่มเล่นในเอ็นบีเอแล้ว แต่ตอนนั้นมีคนใช้เบอร์นี้อยู่ และจะใช้เบอร์ 33 ก็ไม่ได้ เพราะเบอร์นี้ถูกเกษียณให้เป็นเกียรติกับ คารีม อับดุล-จับบาร์ ตัวโคบี้เองใส่หมายเลข 143 ตอนอยู่ที่ค่าย Adidas ABC ก็เลยเอาเลขมารวมกัน ได้เป็นเลข 8 ในรอบแรกของเพลย์ออฟ เลเกอร์เล่นได้ดีและขึ้นนำทีม ฟินิกส์ ซันส์ 3-1 เกม เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในเกมสี่ เมื่อโคบี้ชู้ตลูกสุดท้ายในช่วงเวลาปกติทำให้เกมต้องตัดสินในช่วงต่อเวลา และยังชู้ตลูกสุดท้ายทำให้ทีมชนะในช่วงต่อเวลาอีกด้วย ในเกมที่ 6 ที่เหลือเวลาอีกเพียงหกวินาที พวกเขาก็จะปราบทีมซันส์ได้แล้ว แต่พวกเขากลับพลาดท่า แพ้ไปในช่วงต่อเวลา 126-118 และแม้ว่า โคบี้จะทำคะแนนเฉลี่ย 27.9 แต้มต่อเกมในการสู้กับฟินิกส์ ซันส์ เลเกอร์สก็พังไม่เป็นท่าและพ่ายตกรอบเพลย์ออฟใน 7 เกม ช่วงปิดฤดูกาล 2006 ไบรอันต์ต้องผ่าตัดเข่า ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมทีมชาติเพื่อแข่ง 2006 FIBA World Championship ได้
ในช่วงฤดูกาล 2006-07 ไบรอันต์ได้รับเลือกให้เล่นในเกม All-Star เป็นครั้งที่ 9 และในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เขาทำ 31 คะแนน 6 แอสซิสต์ และ 6 สตีล ทำให้เขาได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าของเกมออลสตาร์เป็นครั้งที่สอง ตลอดฤดูกาลนั้นไบรอันต์มีส่วนในเหตุการณ์ในสนามหลายครั้ง วันที่ 28 มกราคม ขณะที่กระโดดชู้ตลูกสำคัญที่อาจทำให้ทีมชนะ เขาพยายามจะประชิดตัวเพื่อเรียกฟาวล์จาก มานู จิโนบิลี่ การ์ดของ ซาน อันโตนิโอ สเปอร์ส แต่กลับเหวี่ยงศอกใส่หน้าของ จิโนบิลี่ ซึ่งต่อมาทางเอ็นบีเอได้ตรวจสอบจากภาพและตัดสินห้ามไบรอันต์ลงเล่นในเกมต่อมา ด้วยเหตุผลว่า โคบี้ "เคลื่อนไหวแบบผิดธรรมชาติ" คือ จงใจเหวี่ยงศอกไปด้านหลัง หลังจากนั้น ในวันที่ 6 มีนาคม ดูเหมือนว่า โคบี้ จะทำแบบเดิมอีก คราวนี้เป็นการเหวี่ยงแขนใส่ มาร์โก้ ยาริก การ์ดของ มินเนโซต้า ทิมเบอร์วูลฟ์ วันที่ 7 มีนาคม เอ็นบีเอจึงห้ามไบรอันต์ลงเล่นอีกหนึ่งเกม เมื่อกลับมาลงเล่นในวันที่ 9 มีนาคม เขาศอกใส่หน้า ไคลี่ คอร์เวอร์ แต่ครั้งนี้ เอ็นบีเอพิจารณาว่า เป็นการ ฟาวล์รุนแรง แบบที่ 1
วันที่ 17 มีนาคม โคบี้ทำคะแนนสูงสุดในฤดูกาล คือ 65 แต้ม ในเกมที่เลเกอร์สเปิดบ้านรับ พอร์ตแลนด์ เทรล เบลเซอร์ ช่วยให้ทีมชนะหลังจากแพ้รวดมา 7 เกม เป็นการทำคะแนนสูงสุดอันดับสองในชีวิตการเล่น 11 ปี เกมถัดมาไบรอันท์ทำ 50 คะแนน เมื่อเจอกับ มินเนโซต้า ทิมเบอร์วูลฟ์ และ ทำ 60 คะแนนในบ้านของ เมมฟิส กริซลีย์ กลายเป็นผู้เล่นคนที่สองของเลเกอร์สที่ทำ 50 คะแนนหรือมากกว่าติดต่อกันสามเกม ไม่เคยมีใครทำมาก่อนหลังจากที่ ไมเคิล จอร์แดน ทำไว้เมื่อปี 1984
ผลงานในการแข่งขันบาสเกตบอล
- คว้าแชมป์ nestle crunch slam dunk
- เป็นผู้เล่นที่ทำแต้มมากสุดโดยทำในเกมส์เดียวอันดับสองคือ 81 แต้ม รองจาก Wilt Chamberlain ซึ่งทำได้ 100 แต้ม
- ติด NBA all star ทั้งหมด 11 ครั้ง
- เป็นแชมป์ NBA 4ครั้ง ปี 2000 2001 2002 2009,
- เป็น MVP final 2009,
- MVP 2008,
- NBA scoring champion สองครั้ง 2006 2007,
- All NBA first team 7ครั้ง ปี 2002-2004 2006-2009,
- All NBA second team 2ครั้ง ปี 2000 2001,
- All NBA third team 2ครั้ง ปี 1999 2005,
- All defensive first team 7ครั้ง ปี 2000 2003-2004 2006-2009,
- All defensive second team 2ครั้ง ปี 2001 2002,
- NBA all rookie second team 1997,
- NBA all star game MVP 3ครั้ง ปี 2002 2007,2009
สโมสรฟุตบอลเชลซี
สโมสรฟุตบอลเชลซี (อังกฤษ: Chelsea Football Club) เป็นทีมฟุตบอลในอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) เคยได้แชมป์ลีกสูงสุดมาแล้ว 4 ครั้ง รวมฤดูกาลล่าสุด (2009-10) เป็นแชมป์ เอฟเอคัพ 9 ครั้ง แชมป์ ลีกคัพ 8 ครั้ง และแชมป์ ยูฟ่าคัพ 10 ครั้ง สนามของเชลซีคือ สแตมฟอร์ดบริดจ์ จุผู้ชมได้ 42,055 คน ตั้งอยู่ในเขตชุมชนฟูแลมบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองลอนดอน ทีมฟุตบอลเชลซีไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตชุมชนเชลซี แต่ตั้งอยู่บนถนนฟูแลม ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างเขตฟูแลมและเขตเชลซี
ประวัติ
สโมสรฟุตบอลเชลซีก่อตั้งเมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) ที่ ผับชื่อเดอะไรซิงซัน ตรงข้ามกับสนามแข่งปัจจุบันบนถนนฟูแลม และได้เข้าร่วมกับลีกฟุตบอลในเวลาต่อมา เชลซีเริ่มมีชื่อเสียงภายหลังจากที่ได้รับชัยชนะใน ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 1954–55
ปี 1996 แต่งตั้ง รุด กุลลิท(Ruud Gullit) เป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีม เชลซีสามารถคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ มาครองได้ในยุคของกุลลิทนี้
ปี 1997 เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น จิอันลูก้า วิอัลลี่( Gianluca Vialli) โดยเป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีมในช่วงแรก ในยุคของวิอัลลี่นี้สามารถทำทีมได้แชมป์ลีกคัพ และ ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพและสามารถเข้าถึงรอบรอง"ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"ได้เป็นปีทีสองติดต่อกันก่อนที่จะแพ้รีล มายอร์ก้าในปีนั้นทีมที่ได้แชมป์คือ ลาซิโอทีมจากอิตาลีไป ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มีการจัดการแข่งขัน "ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"
ปี 2000 จิอันลูก้า วิอัลลี่ถูกปลดออกจากผู้จัดการทีมและแทนที่ด้วย เคลาดิโอ รานิเอรี(Claudio Ranieri) เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ ในยุคของรานิเอรีนั้น เชลซีมีผลงานติดห้าอันดับแรกของของพรีเมียร์ลีกอย่างสม่ำเสมอ
มิถุนายน ปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ.2003) โรมัน อบราโมวิช เข้าซื้อกิจการต่อจากเคน เบตส์(Ken Bates) ในราคา 140 ล้านปอนด์ หลังการเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย เคลาดิโอ รานิเอรีซึ่งเป็นผู้จัดการทีมในขณะนั้นยังคงได้คุมทีมต่อไป ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทีมอย่างมากมาย มีการซื้อนักเตะชื่อดังหลายรายเข้ามาเสริมทีมโดยใช้เงินไปอีกมากมายกว่าร้อยล้านปอนด์ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันเชลซีไม่คว้าแชมป์ใดมาได้เลย สามารถทำอันดับ 2 ของพรีเมียร์ลีก และ เข้าสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก เมื่อจบฤดูกาลแรกหลังจากเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทางทีมจึงได้ปลด เคลาดิโอ รานิเอรี่ ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม และได้เซ็นสัญญาให้ โชเซ่ มูรินโญ่ ( José Mourinho)เป็นผู้จัดการทีมต่อมา
ปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น โชเซ่ มูรินโญ่ ซึ่งสร้างสีสันให้กับวงการฟุตบอลอังกฤษในสมัยนั้นเป็นอย่างมากกับบทสัมภาษณ์และทัศนะของ มูริญโญ่เอง
ปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ.2005) ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกครั้งแรกหลังจาก โรมัน อบราโมวิช เข้าซื้อกิจการของสโมสร และครบร้อยปีจากการตั้งสโมสร
ปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกอีกครั้งสองสมัยติดต่อกัน
20 กันยายน พ.ศ. 2550 มูรินโญ่ถูกไล่ออกจากตำแหน่ง หลังจากทำผลงานไม่ดี 3 นัดติดต่อกัน แพ้ แอสตันวิลลา 0-2 เสมอแบล็กเบิร์นโรเวอร์ส 0-0 และไล่ตีเสมอโรเซนบอร์ก 1-1 [2] และเปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น อัฟราม แกรนท์ (Afram Grant)
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สิ้นสุดฤดูกาลแรกของ อัฟราม แกรนท์ ไม่สามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ หลังจากรับงาน อัฟราม แกรนท์ พาทีมเชลซีต่อสู้แย่งแชมป์กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จนถึงนัดสุดท้าย แต่ไม่สามารถทำได้โดยนัดสุดท้ายทำได้เพียงเสมอกับ โบลตัน (Bolton)1-1 โดยถูกตีเสมอในนาทีสุดท้ายของการแข่งขัน สิ้นสุดฤดูกาลเชลซีทำแต้มได้ 85 แต้ม โดยแชมป์(แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด)ทำได้ 87 แต้ม
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เข้าชิงแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกของสโมสร กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย ในเวลา 120 นาทีเสมอกัน 1-1 ต้องเตะลูกจุดโทษตัดสิน เชลซีแพ้ไป 10-9 ประตู
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้บริหารสโมสรมีมติปลดอัฟราม แกรนท์ ออกจากตำแหน่ง
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง หลุย เฟลิปเป้ สโกลารี่ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 สโกลารี่ทำผลงานได้ไม่ดี หลังจากนำทีมเสมอต่อ ฮัลล์ 1-1 ตามหลังแมนฯ ยูผู้นำอยู่ 7 แต้ม ผู้บริหารสโมสรได้มีมติปลดออกจากตำแหน่ง
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มติสโมสรแต่งตั้ง กุส ฮิดดิ้งค์ กุนซือชาวฮอลแลนด์ผู้จัดการทีมชาติรัสเซียเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยฮิดดิ้งค์จะทำหน้าที่ควบ 2 ตำแหน่ง ทั้งผู้จัดการทีมชาติรัสเซียและผู้จัดการเชลซี และกุส ฮิดดิ้งค์ นี้พาเชลชี คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ สมัยที่ 5 โดยเอาชนะเอฟเวอร์ตันในนัดชิงชนะเลิศ
1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง คาร์โล อันเชล็อตติ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ
ปี พ.ศ. 2553 ได้แชมป์พรีเมียร์ชิพ นับเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยที่ 4
ปี พ.ศ. 2553 คว้า ดับเบิ้ลแชมป์ เป็นครั้งแรก ของสโมสร โดยคว้า แชมป์ พรีเมียร์ลีก และ FA-CUP
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 คาร์โล อันเชล็อตติ ถูกปลดจากตำแหน่งหลังทำผลงานฤดูกาลที่ 2 ของเขากับเชลซีได้น่าผิดหวัง โดยเชลซีไม่สามารถคว้าแชมป์ได้เลย[3]
22 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สโมสรประกาศแต่งตั้ง อังเดร วิลลาส-โบอาส โค้ชชาวโปรตุเกสเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่[4]
สแตมฟอร์ดบริดจ์
สแตมฟอร์ดบริดจ์ (Stamford Bridge) เป็นสนามฟุตบอลแห่งเดียวของเชลซีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาตั้งอยู่ในเขตฟูแลม ในลอนดอน โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่28 เมษายน พ.ศ. 2420 โดยในช่วง 28 ปีแรกที่เปิดใช้ ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสนามกรีฑาด้วย สนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ออกแบบโดยสถาปนิกชาวสกอต บรรจุคนได้กว่า 42,000 คน
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
|
อดีตผู้เล่นที่โด่งดัง
(นับปีที่เข้ามาในสโมสร)
- ทศวรรษที่ 1990
Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
|
- ทศวรรษที่ 2000
Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
|
ผู้เล่นที่โด่งดัง
2001 - ปัจจุบัน
ชื่อ | สัญชาติ | ตำแหน่ง | เล่นให้เชลซี | จำนวนครั้ง (ตัวสำรอง) | รวม | ประตู |
---|---|---|---|---|---|---|
จิอันฟรังโก้ โซล่า | FW | 1996-2003 | 229 (44) | 273 | 59 | |
จิมมี่ ฟรอยด์ ฮัสเซลเบงค์ | FW | 2000-2004 | 136 (17) | 153 | 69 | |
เจสเปอร์ กรุนชา | MF | 2000-2004 | 104 (32) | 136 | 7 | |
ไอเดอร์ กุ๊ดจอห์นเซน | FW | 2000-2006 | 186 (60) | 246 | 54 | |
ทอเร อังเดร โฟล | FW | 1997-2001 | 112 (53) | 165 | 34 | |
มาแซล เดอไซญี่ | DF | 1998-2004 | 158 (2) | 160 | 6 | |
คาร์โล คูดิชินี่ | GK | 1999-2009 | 142 (4) | 146 | 0 | |
วิลเลียม กัลลาส | DF | 2001-2006 | 159 (12) | 171 | 12 | |
เดเมี่ยน ดัฟฟ์ | MF | 2003-2006 | 81 (18) | 99 | 14 | |
เฌเรมี่ | MF | 2003-2007 | 72 (24) | 96 | 4 | |
โคล้ด มาเกเลเล่ | MF | 2003-2008 | 144 (12) | 156 | 2 | |
เวย์น บริดจ์ | DF | 2003-2009 | 87(13) | 100 | 1 | |
อาเยน ร็อบเบน | MF | 2004-2007 | 67 (16) | 83 | 15 | |
จอห์น ไรท์ ฟิลิปส์ | MF | 2005-2009 | 82 (39) | 121 | 4 | |
โจ โคล | MF | 2003-2010 | 188 (92) | 280 | 39 | |
มิชาเอล บัลลัค | MF | 2006-2010 | 139 (29) | 168 | 26 | |
เบลเล็ตติ | DF | 2007-2010 | 54 (25) | 79 | 5 | |
เดโก้ | MF | 2008-2010 | 42 (15) | 57 | 6 | |
ริคาร์โด้ คาร์วัลโญ่ | DF | 2004-2010 | 233 (7) | 240 | 10 | |
แซม ฮันซิมสัน | DF | 2006-2010 | 1 (3) | 4 | 0 |
ผู้เล่นที่ยิงครบ 100 ประตู
พรีเมียร์ลีก-ถ้วยอื่น ๆ
ชื่อ | สัญชาติ | ตำแหน่ง | เล่นให้เชลซี | จำนวนครั้ง (ตัวสำรอง) | รวม | ประตู |
---|---|---|---|---|---|---|
แฟรงค์ แลมพาร์ด | MF | 2001-ปัจจุบัน | 449 (24) | 473 | 156 | |
ดิดิเยร์ ดร็อกบา | FW | 2004-ปัจจุบัน | 209 (48) | 257 | 129 |
นักเตะยอดเยี่ยมประจำปี 1967-2010
|
|
|
ทำเนียบผู้จัดการทีม
สัญลักษณ์ทีม
ผลงาน
สถิติ
|
เว็บไซต์แฟนคลับในเมืองไทย
- chelsea.in.th
- chelseafc.in.th
- fanchelsea.com
- chelseasiam.com
- chelsea96.com - The Chelsea Supporters Thailand Since:1996
อ้างอิง
- ^ "TEAM HISTORY – INTRODUCTION". Chelsea F.C. Website. http://www.chelseafc.com/page/TeamHistory/0,,10268,00.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 11 May 2011.
- ^ Mourinho sacked after Chelsea crisis meeting
- ^ Carlo Ancelotti is sacked as Chelsea manager
- ^ VILLAS-BOAS APPOINTED