วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

KOBIE BRYANT


วัยเด็กและครอบครัว

โคบี้เป็นลูกชายคนสุดท้องของ Joe "Jellybean" Bryant อดีตนักบาสเกตบอล NBA ทีม Philadephia 76ers ส่วนมารดาชื่อ Pamela Cox Bryant พ่อแม่ตั้งชื่อ โคบี้ หรือ โกเบ (Kobe) ตามชื่อ เนื้อโกเบ เนื้อชื่อดังของประเทศญี่ปุ่นซึ่งพวกเขาเห็นในเมนูร้านอาหารแห่งหนึ่ง โคบี้มีพี่สาวสองคนชื่อ Sharia และ Shaya
เมื่อโคบี้อายุได้ 6 ขวบ คุณพ่อของเขาออกจากสมาคมบาสเก็ตบอลเอ็นบีเอ และพาครอบครัวไปย้ายไปอยู่ที่ประเทศประเทศอิตาลี เพื่อเล่นบาสเก็ตบอลอาชีพที่นั่น โคบี้ต้องปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตใหม่ๆ และฝึกหัดพูดภาษาอิตาลีและภาษาสเปนจนคล่องแคล่ว ในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โคบี้จะเดินทางกลับมายังสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมแข่งขันบาสเก็ตบอลลีกฤดูร้อน (Summer League) โคบี้เริ่มเล่นบาสเก็ตบอลตั้งแต่อายุ 3 ขวบ และช่วงวัยเด็กเขายังเล่นซ็อกเกอร์(ฟุตบอล)ด้วย ทีมโปรดของเขาคือทีม เอซี มิลาน(AC Milan) เขาเคยบอกว่า ถ้าเขายังอยู่ในอิตาลี เขาอาจจะลองพยายามเป็นนักฟุตบอลอาชีพ นักฟุตบอลที่เขาชื่นชอบ คือ แฟรงค์ รายการ์ด และ โรนัลดิญโญ่
คุณพ่อของโคบี้ เกษียณจากการเล่นบาสเก็ตบอลในอิตาลีเมื่อปีพ.ศ. 2534 และครอบครัวเขาได้ย้ายกลับสหรัฐอเมริกา


มัธยมปลาย

ไบรอันต์เริ่มเป็นที่รู้จักในระดับประเทศเมื่อเขาสร้างผลงานกับทีมบาสเก็ตบอลของ Lower Merion High School ในเมืองฟิลาเดเฟีย ทีมเป็นที่รู้จักในชื่อทีม Aces ในปีที่สองที่เขาเล่นนั้น พ่อของเขาได้มาเป็นโค้ชให้กับทีมด้วย หลังจากนั้น ในค่ายบาสเก็ตบอล Adidas ABCD camp โคบี้แสดงฝีมือจนได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าประจำปี 1995 สำหรับผู้เล่นปีสุดท้าย ในการแข่งขันนั้นโคบี้ได้เล่นทีมเดียวกับ ลามารื โอดอม ซึ่งปัจจุบันคือเพื่อนร่วมทีม LA Lakers ใน NBA ด้วย ระหว่างที่เขาเล่นบาสเก็ตบอลมัธยมปลายอยู่นั้น John Lucas โค้ชของทีม Philadephia 76ers ใน NBA ได้เรียกตัวเขาไปฝึกซ้อมด้วย และให้โอกาสเขาได้เล่นตัวต่อตัวกับดาราชื่อดังของทีมในขณะนั้น คือ Jerry Stackhouse ในปีสุดท้ายของมัธยม โคบี้พาทีมคว้าแชมป์ของรัฐได้สำเร็จ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 53 ปีของทีม ด้วยผลงานเฉลี่ยต่อเกม 30.8 คะแนน 12 รีบาวน์ 6.5 แอสซิสต์ 4 สตีล 3.8 บล็อก นำทีม Aces ชนะ 31 แพ้ 3 โคบี้จบการเล่นบาสเก็ตบอลระดับมัธยมด้วยการเป็นผู้เล่นที่ทำคะแนนรวมสูงสุดตลอดกาลของ เพนซิลเวเนียตอนใต้ คือ 2,883 คะแนน แซงหน้านักบาสเก็ตบอลระดับตำนานทั้ง Wilt Chamberlain และ Lionel Simmons เขายังได้รับรางวัลมากมายจากผลงานการเล่นปีสุดท้ายของเขา ไม่ว่าจะเป็นรางวัล Naismith High School Player of the YearGatorade Men's National Basketball Player of the YearMcDonald's All-American และ SA Today All-USA First Team player ในปี 1996 โคบี้สร้างความฮือฮาโดยการพา Brandy Norwood นักร้อง R&B สาวชื่อดังไปที่งานเต้นรำเมื่อจบการศึกษา แต่เขาทั้งสองก็เป็นเพียงแค่เพื่อนกันเท่านั้น ถึงแม้ว่าโคบี้จะสอบวัดระดับ SATได้ถึง 1,080 คะแนน และมีทุนการศึกษาสำหรับนักกีฬาจากหลายต่อหลายมหาวิทยาลัยรออยู่ แต่ไบรอันต์วัย 17 ปี ก็ตัดสินใจที่จะเข้าสู่วงการบาสเก็ตบอลอาชีพ NBA แทน ทำให้เขาเป็นถูกรุมล้อมไปด้วยสื่อมากมายที่ยังไม่คุ้นเคยกับเด็กที่จบมัธยมแล้วเลือกจะเข้าเป็นนักบาสเก็ตบอล NBA โดยไม่เรียนมหาวิทยาลัยก่อน โคบี้เคยกล่าวว่า ถ้าหากเขาเลือกเรียนมหาวิทยาลัย เขาจะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University)


บาสเกตบอลอาชีพ NBA


NBA Draft ปี 1996

ผู้เล่นตำแหน่งการ์ดคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเลือกเข้าสู่ NBA ตั้งแต่จบมัธยมปลาย ไบรอันต์ได้รับเลือกเป็นอันดับที่ 13 จากการดร๊าฟรอบแรกโดยทีม Charlotte Hornets ในปี 1996 อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของไบรอันต์ในขณะนั้นเห็นว่าโคบี้ไม่ควรจะเล่นให้กับทีมชาร์ล็อตต์ และชาร์ล็อตต์เองก็คิดที่จะแลกเปลี่ยนตัวผู้เล่นกับทีมเลเกอร์สอยู่แล้ว ก่อนหน้าการดร้าฟตัวผู้เล่นนั้น โคบี้มีโอกาสได้ร่วมฝึกซ้อมกับทีมในลอสแอนเจลิส ซึ่งเขาได้ต่อกรในสนามกับอดีตผู้เล่นของเลเกอร์ส คือ Larry Drew และ Michael Cooper จนสะดุดตา Jerry West ผู้จัดการทีมในขณะนั้น ในที่สุดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 1996 West ตัดสินใจแลกตัวผู้เล่นเซ็นเตอร์ตัวจริงของทีมเลเกอร์ส คือ Vlade Divac ไปให้ทีมฮอร์เน็ตส์ เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการดร้าฟตัวไบรอันท์ และเนื่องจากโคบี้เพิ่งอายุได้ 17 ปี พ่อแม่ของเขาต้องร่วมเซ็นสัญญากับเลเกอร์ส จนกระทั่งโคบี้สามารถเซ็นสัญญาเองได้เมื่ออายุครบ 18 ปี ก่อนจะเปิดฤดูกาล


สามฤดูกาลแรก (ปี 1996-99)

ช่วงปีแรกนั้น ไบรอันท์ต้องเป็นตัวสำรองให้กับการ์ดรุ่นพี่อย่าง Eddie Jones และ Nick Van Exel ในขณะนั้น โคบี้คือผู้เล่นที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์(ปัจจุบันสถิตินี้โดนทำลายโดยเพื่อนร่วมทีมเลเกอร์ส ชื่อAndrew Bynum) และยังเป็นผู้เล่นตัวจริงที่อายุน้อยที่สุดที่เคยมีมาด้วย ในช่วงเริ่มต้นเขาอาจไม่ได้ลงเล่นมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขาก็มีโอกาสได้ลงเล่นมากขึ้น เขาจบฤดูกาลแรก (1996-97) ด้วยเวลาลงสนามเฉลี่ย 15.5 นาทีต่อเกม สร้างชื่อจนกลายเป็นจอมเหินเวลาและขวัญใจของแฟนๆด้วยการคว้าแชมป์ Slam Dunk Contest ได้รับเลือกให้ติดทีมอันดับสองของ NBA All Rookies พร้อมกับเพื่อนร่วมทีม ชื่อ Travis Knight นาทีสุดท้ายของฤดูกาลนั้นของเขาจบลงด้วยหายนะ เมื่อชู้ตบอลพลาดแบบไม่โดนห่วง (air ball) ถึง 3 ครั้ง ในช่วงเวลาสำคัญ คือ ลูกแรกเขาชู้ตสุดท้ายที่จะทำให้ทีมชนะพลาด ก่อนจะหมดเวลาปกติ ทำให้เกมต้องเข้าสู่ช่วงต่อเวลา และในช่วงท้ายของการต่อเวลายังยิงสามคะแนนพลาดอีก 2 ครั้ง ทำให้ทีมเลเกอร์สต้องตกรอบแรกใน Playoffs (ระบบแพ้คัดออก เล่นแบบชนะ 4 ใน 7 เกม) ให้กับทีม Utah Jazz หลังการแข่งขัน ชาคีล โอนีล(Shaquille O'Neal) เพื่อนร่วมทีมในตอนนั้น ให้ความเห็นว่า "ไบรอันต์เป็นคนเดียวในตอนนั้นที่กล้าพอจะชู้ตลูกเหล่านั้น"
ในปีที่สองของการเล่น โคบี้ได้โอกาสลงเล่นมากขึ้น และเริ่มแสดงฝีมือให้เห็นว่าเขาเป็นการ์ดหนุ่มที่มีพรสวรรค์ เขาทำคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปีแรกจาก 7.6 เป็น 15.4 แต้มต่อเกม เขาได้ลงเล่นมากขึ้นเมื่อเลเกอร์สใช้แผน "ผู้เล่นตัวเล็ก" ทำให้โคบี้รับตำแหน่งปีกตัวเล็ก (Small Forward) และได้ลงเล่นพร้อมกับการ์ดรุ่นพี่ที่เขาต้องเป็นตัวสำรองให้เป้นประจำ แม้ว่าจะได้แค่อันดับรองและพลาดตำแหน่งผู้เล่นสำรองยอดเยี่ยม (NBA's Sixth Man of The Year)ไป แต่ด้วยความนิยมจากแฟนๆ ทำให้เขาได้รับเลือกให้ติดทีมรวมดารา และกลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ NBA ที่ได้เป็นตัวจริงในเกมรวมดารา NBA All-Star ปีนั้น เพื่อนร่วมทีมของเขาคือShaquille O'NealEddie Jones และ Nick Van Exel ก็ได้รับคะแนนเสียงจากแฟนเช่นกัน ทำให้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1983 ที่มีผู้เล่นจากทีมเดียวกันถึง 4 คนได้ร่วมทีมเดียวกันในเกมรวมดารา คะแนนเฉลี่ย 15.4 คะแนนของโคบี้ยังเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับผู้เล่นที่ไม่ได้เป็นตัวจริงของทีมในฤดูกาลปกติอีกด้วย
ในฤดูกาล 1998-99 ขึ้นมาเป็นการ์ดแนวหน้าของลีกอย่างรวดเร็ว เมื่อการ์ดตัวจริงทั้งสองคน คือ Nick Van Exel และ Eddie Jones ถูกเทรดออกไป โคบี้ลงเล่นเป็นตัวจริงทุกเกมตลอด 50 เกม ในปีที่ NBA มีปัญหา lockout ระหว่างฤดูกาลนั้น โคบี้ได้ต่อสัญญากับทีมออกไปอีก 6 ปี เป็นมูลค่า 70 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้เขาได้อยู่กับทีมเลเกอร์สไปจนถึงฤดูกาล 2003-04 แม้ว่าเขาเพิ่งจะเริ่มอาชีพการเล่นบาสเก็ตบอลได้ไม่นาน แต่สื่อกีฬาต่างๆก็เริ่มเปรียบเทียบความสามารถของเขากับผู้เล่นระดับโลกอย่าง Michael Jordan และ Magic Johnson แล้ว อย่างไรก็ตาม ใน playoffs ปีนั้น เลเกอร์สก็โดน San Antonio Spurs กวาดเรียบ 4 เกมรวดในเกมรอบชิงชนะเลิศของฝั่งตะวันตก (Western Conference semi-finals)


แชมป์ 3 สมัยซ้อน (ปี 2000-02)

ในไม่ช้าชะตาชีวิตของไบรอันท์ก็เปลี่ยนไปเมื่อ Phil Jackson เข้ามารับหน้าที่โค้ชให้กับทีม LA Lakers ในปี 1999 หลังจากพัฒนาตัวเองมาหลายปี โคบี้กลายมาเป็นผู้เล่นตำแหน่งการ์ดตัวทำคะแนน (Shooting Guard) ชั้นแนวหน้า ได้รับเลือกให้ติดทีม All-NBA, All-Star และ All-Defensive ปีนี้ ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส กลายมาเป็นทีมเต็งที่จะได้แชมป์ ภายใต้การนำทีมของ โคบี้ ไบรอันท์ และ ชาคีล โอนีล ที่ผสมผสานการเล่นของเซ็นเตอร์กับการ์ดได้อย่างยอดเยี่ยม และด้วยแผนการบุกแบบสามเหลี่ยม (Triangle Offense) ซึ่ง ฟิล แจ็กสัน เคยใช้พาทีม Chicago Bulls คว้าแชมป์ไปแล้วถึง 6 สมัย ก็ทำให้ทั้งสามคนพาทีม เลเกอร์สได้แชมป์ NBA ถึง 3 ปีซ้อน ในปี 2000, 2001 และ 2002
โคบี้เริ่มต้นฤดูกาล 1999-2000 ด้วยการพลาดการลงสนามถึง 6 สัปดาห์เมื่อเขาได้รับบาดเจ็บที่มือ ในเกมอุ่นเครื่องก่อนเริ่มฤดูกาลที่แข่งกับทีม Washington Wizards เมื่อเขากลับมาลงสนามได้ เขาลงเล่นมากกว่า 38 นาทีต่อเกม และทำผลงานเฉลี่ยต่อเกมสูงขึ้น รวมถึงการเป็นผู้เล่นที่ทำ แอสซิสต์และสตีล สูงสุดของทีมด้วย คู่หูโอนีลกับไบรอันท์พร้อมด้วยเพื่อนร่วมทีมที่แข็งแกร่งพาทีมชนะถึง 67 เกม เป็นสถิติการชนะสูงสุดเป็นอันดับ 5 ในประวัติศาตร์ NBA โอนีลได้รับตำแหน่งผู้เล่นทรงคุณค่าในฤดูกาลปกติ และโคบี้ได้รับเลือกให้ติดทีมผู้เล่นยอดเยี่ยมอันดับสอง (All-NBA Second Team) และ ทีมรับยอดเยี่ยม (All Defensive Team) เป็นครั้งแรกในชีวิต(เป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเลือกติดทีมรับยอดเยี่ยม) ขณะที่ต้องรับบทพระรองของทีมในรอบเพลย์ออฟ ไบรอันต์ก็มีผลงานที่โดดเด่น รวมถึงการทำ 25 คะแนน 11 รีบาวน์ 7 แอสซิสต์ และ 4 บล็อก ในเกม 7 ของรอบชิงชนะเลิศฝั่งตะวันตก ที่เลเกอร์ส เจอกับ Portland Trail Blazers เขายังเป็นคนส่งบอลทำ alley-oop ให้กับโอนีลทำให้ทีมชนะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศด้วย ในรอบชิงชนะเลิศ พวกเขาต้องพบกับทีม Indiana Pacers ไบรอันต์ได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าใชช่วงควอเตอร์ที่ 2 ของเกมที่ 2 ต้องออกจากการแข่งขัน และไม่ได้ลงเล่นในเกมที่ 3 เมื่อเขากลับมาลงเล่นในเกมที่ 4 ไบรอันต์ทำคะแนนไป 22 คะแนนในครึ่งหลัง เขาต้องขึ้นเป็นผู้นำทีมเมื่อ โอนีล ทำ ฟาวล์เอ้าท์ ต้องออกจากการแข่งขัน ในช่วงท้ายของการต่อเวลา โคบี้ชู้ตทำคะแนนสุดท้ายให้ทีมขึ้นนำ 120-118 และด้วยชัยชนะในเกมที่ 6 ทำให้เลเกอร์สได้กลับมาครองแชมป์อีกครั้งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1988
ถ้าดูตามสถิติแล้ว ในฤดูกาล 2000-01 โคบี้ทำผลงานได้แทบไม่ต่างกับฤดูกาลก่อนหน้า นอกจากทำคะแนนเฉลี่ยได้มากขึ้นถึง 6 คะแนนต่อเกม(28.5) เป็นอีกปีนึงที่เขาทำแอสซิสต์สูงสุดในทีม ปีนี้ยังเป็นปีที่ความไม่ลงรอยกันระหว่างโอนีลกับไบรอันต์เริ่มที่จะเปิดเผยมากขึ้น อย่างไรก็ตามเลเกอร์สก็ยังชนะได้ถึง 56 เกม แม้จะน้อยกว่าปีที่แล้ว 11 เกม และทำสถิติในรอบเพลย์ออฟด้วยการชนะ 15 แพ้ 1 ด้วยการกวาด Portland Trail Blazers, Sacramento Kings และ San Antonio Spurs ก่อนที่จะแพ้เกมแรกในรอบชิงชนะเลิศ กับ Philadephia 76ers ในช่วงต่อเวลา แล้วกลับมาชนะ 4 เกมรวดคว้าแชมป์สมัยที่ 2 ติดต่อกัน ไบรอันต์ได้ลงสนามมากกว่าเดิมในช่วงเพลย์ออฟและทำให้ผลงานเฉลี่ยของเขาเพิ่มขึ้นเป็น 29.4 คะแนน 7.3 รีบาวน์ 6.1 แอสซิสต์ต่อเกม และในช่วงเพลย์ออฟนั้นเอง แชคีล โอนีล เพื่อนร่วมทีมประกาศว่า โคบี้คือผู้เล่นที่ดีที่สุดในเอ็นบีเอ ไบรอันต์ได้รับเลือกให้ติดทีมยอดเยี่ยมอันดับสอง (All-NBA Second Team) และ ทีมรับยอดเยี่ยม (NBA All Defensive Team) เป็นปีที่สองติดต่อกัน และยังได้รับเลือกให้ติดทีมรวมดารา (NBA All-Star) เป็นผู้เล่นตัวจริง เป็นปีที่สามติดต่อกันด้วย (เว้นปี 1999 ที่ไม่มีการแข่งขัน All-Star)
ในฤดูกาล 2001-02 โคบี้ลงสนามในฤดูกาลปกติถึง 80 เกมเป้นครั้งแรกในอาชีพการเล่น เขายังคงทำผลงานเฉลี่ยต่อเกม 25.2 คะแนน 5.5 รีบาวน์ 5.5 แอสซิสต์ ซึ่งเป็นการทำแอสซิสต์สูงที่สุดในทีมอีกครั้งนึง เขาสถิติที่ดีที่สุดในอาชีพการเล่นด้วยการชู้ตที่แม่นยำถึง 46.9% ได้รับเลือกให้ติด ทีมรวมดารา และ ทีมรับยอดเยี่ยม อีกครั้ง และได้รับเลือกให้ติด ทีมยอดเยี่ยมอันดับหนึ่ง (All-NBA First Team) เป็นครั้งแรกในชีวิต เลเกอร์สชนะ 58 เกม เป็นอันดับสองของฝั่งตะวันตก รองจากคู่แข่งร่วมรัฐ คือ ซาคราเมนโต้ คิงส์ ถนนในรอบเพลย์ออฟไม่ได้โรยด้วยกลับกุหลาบสำหรับเลเกอร์สเหมือนปีที่ผ่านมา แม้พวกเขาจะกวาด พอร์ตแลนด์ในรอบแรก เอาชนะ สเปอร์ส 4-1 เกม แต่พวกเขาเสียเปรียบ ซาคราเมนโต้ เนื่องจากทำอันดับได้แกว่าตอนฤดูกาลปกติ และต้องกลับไปเล่นที่บ้านของ ซาคราเมนโต้ ในเกมสุดท้าย เพราะการแข่งขันยื้ดเยื้อไปถึงเกมที่ 7 เป็นครั้งแรกที่เลเกอร์สต้องแข่งถึงเกมสุดท้ายแบบนี้ในรอบชิงชนะเลิศของฝั่งตะวันตก นับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ตาม เลเกอร์สก็สามารถเอาชนะและเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ในรอบชิงชนะเลิศ ไบรอันท์ ทำคะแนนเฉลี่ย 26.8 แต้ม ด้วยเปอร์เซนต์การชู้ต 51.4% รีบาวน์ 5.8 ครั้ง และแอสซิสต์ 5.3 ครั้งต่อเกม รวมถึงทำคะแนนรวมเท่ากับ 1 ใน 4 ของคะแนนรวมของทีม ด้วยวัยเพียง 23 ปี เขากลายเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้แชมป์ NBA 3 สมัย การเล่นของเขาเป็นที่จดจำและยกย่องในการเล่นช่วงควอร์เตอร์ที่ 4 ของเกม โดยเฉพาะในสองรอบสุดท้ายของเพลย์ออฟ ทำให้เขามีชื่อในการเป็นผู้เล่นที่ทีมพึ่งพาได้ในช่วงเวลาสำคัญ


ไปไม่ถึงฝั่งฝัน (ปี 2002-2004)

ในฤดูกาล 2002-03 ไบรอันท์ทำคะแนนเฉลี่ย 30 แต้มต่อเกม และจารึกประวัติศาสตร์ด้วยการทำคะแนน 40 แต้มหรือมากกว่า ติดต่อกันถึง 9 เกม ทำให้เดือนกุมภาพันธ์ เขาทำคะแนนเฉลี่ย 40.6 แต้มต่อเกม และในฤดูกาลเดียวกันนี้เอง เขายังทำ 6.9 รีบาวน์ 5.9 แอสซิสต์ และ 2.2 สตีลต่อเกมอีกด้วย โคบี้ได้รับโหวตให้ติดทีม All-NBA และ All-Defensive 1st Team อีกครั้ง และมาเป็นอันดับ 3 ในการโหวตให้รับรางวัล MVP หลังจากทำสถิติ ชนะ 50 แพ้ 32 ครั้ง ในฤดูกาลปกติ เลเกอร์ส กลับพ่ายแพ้ให้กับ ซานอันโตนิโอ สเปอร์ส ในรอบรองชนะเลิศฝั่งตะวันตก ก่อนที่สเปอร์จะเข้าไปคว้าแชมป์เอ็นบีเอได้ใน 6 เกม
ฤดูกาลถัดมา 2003-2004 เลเกอร์ส ได้ตัวผู้เล่นระดับออลสตาร์ อย่าง Karl Malone และ Gary Payton มาร่วมทีมเพื่อจะมุ่งสู่การคว้าแชมป์เอ็นบีเออีกครั้ง ก่อนฤดูกาลแข่งขันจะเริ่มต้น โคบี้ ไบรอันท์ ถูกจับกุมข้อหาล่วงลัเมิดทางเพศ ทำให้เขาพลาดการลงสนามบางเกมเนื่องจากต้องไปปรากฎตัวที่ศาล หรือบางครั้งต้องไปขึ้นศาลก่อนแล้วจึงเดินทางตามมาที่สนามแข่งขันในวันเดียวกัน ในเกมสุดท้ายของฤดูกาลปกติ โคบี้ชู้ตลูกสุดท้ายก่อนหมดเวลาถึง 2 ครั้ง ทำให้ทีมชนะเป็นผู้นำในฝั่ง Pacific Division ช่วงสุดท้ายของควอเตอร์ที่ 4 ไบรอันท์ยิงสามแต้ม ทำให้คะแนนเสมอกันและต้องต่อเวลา เกมสูสียืดเยื้อจนต้องต่อเวลาเป็นครั้งที่สอง ก่อนที่ไบรอันท์จะยิงลูกสุดท้ายให้เลเกอร์สชนะไป 105-104 คะแนน ทีมที่ประกอบไปด้วยผู้เล่นตัวจริงซึ่งน่าจะได้เข้าสู่หอเกียรติยศในอนาคตทั้ง 4 คนอย่าง โอนีล, มาโลน, เพย์ตัน และไบรอันท์ นำพาทีมให้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้อีกครั้ง แต่ทีม Detroit Pistons ก็ดับฝันของพวกเขาใน 5 เกม ในรอบเพลย์ออฟนั้น โคบี้เฉลี่ยต่อเกม 22.6 คะแนน กับ 4.4 แอสซิสต์ และชู้ตเพียง 35.1% เมื่อฤดูกาลสิ้นสุดลง ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของทีมก็เกิดขึ้นเมื่อ โค้ช Phil Jackson ไม่ได้ต่อสัญญาและ Rudy Tomjanovich มารับช่วงเป็นโค้ชต่อ ผู้เล่นหลักอย่าง แชคีล โอนีล โดนเทรดไปอยู่ ไมอามี่ ฮีท แลกกับ ลามาร์ โอดอม, คารอน บัตเลอร์ และ ไบรอัน แกรนท์ ส่วนโคบี้ก็ปฏิเสธข้อเสนอของ Los Angeles Clippers และจรดปากกาเซ็นสัญญา 7 ปี กับ เลเกอร์ส


ความผิดหวังในรอบเพลย์ออฟ (ปี 2004-07)

ไบรอันท์ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงฤดูกาล 2005-06 ด้วยชื่อเสียงที่ย่ำแย่จากสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในปีก่อน เรื่องเสียหายเรื่องหนึ่งก็คือคำวิพากษ์วิจารณ์ของ อดีตโค้ช ฟิล แจ็กสัน ที่เขียนไว้ในหนังสือ The Last Season: A Team in Search of its Soul ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆในฤดูกาล 2003-04 ในหนังสือนั้น แจ็กสัน กล่าวถึงโคบี้ว่า เป็นคนที่ "ไม่สามารถที่จะโค้ช(สั่งสอนแนะนำ)ได้"
ฤดูกาลผ่านไปได้แค่ครึ่งทาง รูดี้ ทอมจาโนวิช ก็ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าโค้ชของเลเกอร์สกระทันหันด้วยปัญหาสุขภาพ ทำให้ผู้ช่วยโค้ช แฟรงก์ แฮมเบล็น ต้องมารับหน้าที่แทน แม้ว่าโคบี้จะทำคะแนนเฉลี่ยต่อเกมสูงสุดเป็นอันดับสองของลีก แต่เลเกอร์สก็ล้มลุกคลุกคลานและไม่สามารถเข้ารอบเพลย์ออฟได้เป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ ทำให้โคบี้โดนลดระดับโดยรวมลง ไม่ได้รับเลือกให้ติดทีมรับยอดเยี่ยม ถูกลดไปอยู่ในทีม All-NBA อันดับสาม ในระหว่างฤดูกาลนั้นไบรอันต์ยังไปมีเรื่องมีราวกับ เรย์ อัลเลน และ คาร์ล มาโลน ด้วย
ฤดูกาล 2005-06 เรียกได้ว่าเป็นทางแยกสำคัญในอาชีพนักบาสเก็ตบอลของไบรอันต์ เมื่อ ฟิล แจ็กสัน กลับเข้ามาคุมทีมอีกครั้ง ไบรอันต์เห็นพ้องกับทีมที่นำโค้ชกลับมา และทั้งสองก็ทำงานด้วยกันได้อย่างดี ช่วยกันพาทีมกลับเข้าสู่รอบเพลย์ออฟได้อีกครั้ง การทำคะแนนของไบรอันต์พุ่งขึ้นสูงสุดในชีวิตการเล่นอาชีพ วันที่ 20 ธันวาคม 2005 เขาทำคะแนนได้ 62 คะแนน ในสามควอเตอร์ ที่เจอกับ ดัลลัส มาเวอริกส์ เมื่อเข้าสู่ควอเตอร์ที่สี่ ไบรอันต์ก็ทำคะแนนมากกว่าทีมมาเวอริกส์ทั้งทีมไปแล้วด้วยคะแนน 62-61 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่มีผู้เล่นทำแบบนี้ได้ในเวลาแค่ สามควอเตอร์ นับตั้งแต่ปรับเวลา shot clock มาเหลือ 24 วินาที ต่อมาเมื่อเลเกอร์สพบกับทีม ไมอามี่ ฮีท ในวันที่ 16 มกราคม 2006 ไบรอันต์ กับ ชาคีล โอนีล ก็กลายเป็นหัวข้อข่าวดังเมื่อทั้งสองจับมือและกอดกันก่อนเริ่มเกม นับเป็นการสิ้นสุดความขัดแย้งระหว่างทั้งสองที่ยาวนานมาตั้งแต่ โอนีล ออกจากลอสแองเจลีสไป หนึ่งเดือนต่อมาในเกม All-Star 2006 ทั้งสองก็ยังพูดคุยหัวเราะกันหลายต่อหลายครั้ง
วันที่ 22 มกราคม 2006 ไบรอันต์ทำคะแนน 81 แต้ม ในเกมที่เอสชนะ โตรอนโต้ แร็ปเตอร์ส ไปได้ 122-104 นอกจากจะเป็นการทำลายสถิติสูงสุดของทีม ที่ เอลกิ้น เบย์เลอร์ เคยทำไว้ 71 คะแนนแล้ว ยังเป็นการทำคะแนนสูงสุดอันดับสองในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอ เป็นรองเพียงแค่ วิลท์ แชมเบอร์เลน ที่ทำไว้ 100 แต้มเมื่อปี 1962 เท่านั้น ในเดือนเดียวกันนั้นเอง โคบี้ยังกลายเป็นผู้เล่นคนแรกนับแต่ปี 1964 ที่ทำคะแนน 45 แต้มหรือมากกว่า 4 เกมติดต่อกัน มีเพียงแชมเบอร์เลน และเบย์เลอร์เท่านั้นที่เคยทำแบบนี้ได้ สถิติในเดือนมกราคมของไบรอันท์ ทำคะแนนเฉลี่ย 43.4 แต้มต่อเกม สูงสุดเป็นอันดับแปดในประวัติศาสตร์การทำคะแนนเฉลี่ยในเดือนเดียวของเอ็นบีเอ และเป็นคนเดียวที่ทำได้นอกจาก แชมเบอร์เลน เมื่อจบฤดูกาล 2005-06 ไบรอันต์จารึกประวัติศาสตร์ของทีมในหนึ่งฤดูกาล ในการทำคะแนนมากกว่า 40 แต้ม (27 เกม)และทำคะแนนรวมสูงสุด 2,832 แต้ม เขาได้รางวัลผู้เล่นที่ทำคะแนนสูงสุดในลีกเป็นครั้งแรก (35.4 แต้มต่อเกม) จากการโหวตผู้เล่นทรงคุณค่าแห่งปี 2006 เขาได้คะแนนรวมเป็นอันดับสี่ แต่ได้รับการโหวตให้เป็นอันดับหนึ่งถึง 22 เสียง เป็นรองเพียงแค่ผู้ชนะคือ สตีฟ แนช ทีม ลอส แองเจลีส เลเกอร์ส ทำสถิติ ชนะ 45 แพ้ 37 ชนะมากกว่าฤดูกาลก่อนหน้า 11 เกม และผู้เล่นทั้งทีมดูจะเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ต่อมาในฤดูกาลนั้น มีข่าวว่า ไบรอันต์ จะเปลี่ยนหมายเลขเสื้อ จากหมายเลข 8 เป็นหมายเลข 24 เมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 2006-07 หมายเลขเสื้อของไบรอันท์ที่เขาใส่เป็นครั้งแรกตอนเรียนมัธยมปลายคือ เบอร์ 24 ก่อนจะเปลี่ยนไปใส่เบอร์ 33 หลังจากฤดูกาลจบลง โคบี้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว TNT ว่าเขาอยากใส่เบอร์ 24 มาตั้งแต่ตอนเริ่มเล่นในเอ็นบีเอแล้ว แต่ตอนนั้นมีคนใช้เบอร์นี้อยู่ และจะใช้เบอร์ 33 ก็ไม่ได้ เพราะเบอร์นี้ถูกเกษียณให้เป็นเกียรติกับ คารีม อับดุล-จับบาร์ ตัวโคบี้เองใส่หมายเลข 143 ตอนอยู่ที่ค่าย Adidas ABC ก็เลยเอาเลขมารวมกัน ได้เป็นเลข 8 ในรอบแรกของเพลย์ออฟ เลเกอร์เล่นได้ดีและขึ้นนำทีม ฟินิกส์ ซันส์ 3-1 เกม เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในเกมสี่ เมื่อโคบี้ชู้ตลูกสุดท้ายในช่วงเวลาปกติทำให้เกมต้องตัดสินในช่วงต่อเวลา และยังชู้ตลูกสุดท้ายทำให้ทีมชนะในช่วงต่อเวลาอีกด้วย ในเกมที่ 6 ที่เหลือเวลาอีกเพียงหกวินาที พวกเขาก็จะปราบทีมซันส์ได้แล้ว แต่พวกเขากลับพลาดท่า แพ้ไปในช่วงต่อเวลา 126-118 และแม้ว่า โคบี้จะทำคะแนนเฉลี่ย 27.9 แต้มต่อเกมในการสู้กับฟินิกส์ ซันส์ เลเกอร์สก็พังไม่เป็นท่าและพ่ายตกรอบเพลย์ออฟใน 7 เกม ช่วงปิดฤดูกาล 2006 ไบรอันต์ต้องผ่าตัดเข่า ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมทีมชาติเพื่อแข่ง 2006 FIBA World Championship ได้
ในช่วงฤดูกาล 2006-07 ไบรอันต์ได้รับเลือกให้เล่นในเกม All-Star เป็นครั้งที่ 9 และในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เขาทำ 31 คะแนน 6 แอสซิสต์ และ 6 สตีล ทำให้เขาได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าของเกมออลสตาร์เป็นครั้งที่สอง ตลอดฤดูกาลนั้นไบรอันต์มีส่วนในเหตุการณ์ในสนามหลายครั้ง วันที่ 28 มกราคม ขณะที่กระโดดชู้ตลูกสำคัญที่อาจทำให้ทีมชนะ เขาพยายามจะประชิดตัวเพื่อเรียกฟาวล์จาก มานู จิโนบิลี่ การ์ดของ ซาน อันโตนิโอ สเปอร์ส แต่กลับเหวี่ยงศอกใส่หน้าของ จิโนบิลี่ ซึ่งต่อมาทางเอ็นบีเอได้ตรวจสอบจากภาพและตัดสินห้ามไบรอันต์ลงเล่นในเกมต่อมา ด้วยเหตุผลว่า โคบี้ "เคลื่อนไหวแบบผิดธรรมชาติ" คือ จงใจเหวี่ยงศอกไปด้านหลัง หลังจากนั้น ในวันที่ 6 มีนาคม ดูเหมือนว่า โคบี้ จะทำแบบเดิมอีก คราวนี้เป็นการเหวี่ยงแขนใส่ มาร์โก้ ยาริก การ์ดของ มินเนโซต้า ทิมเบอร์วูลฟ์ วันที่ 7 มีนาคม เอ็นบีเอจึงห้ามไบรอันต์ลงเล่นอีกหนึ่งเกม เมื่อกลับมาลงเล่นในวันที่ 9 มีนาคม เขาศอกใส่หน้า ไคลี่ คอร์เวอร์ แต่ครั้งนี้ เอ็นบีเอพิจารณาว่า เป็นการ ฟาวล์รุนแรง แบบที่ 1
วันที่ 17 มีนาคม โคบี้ทำคะแนนสูงสุดในฤดูกาล คือ 65 แต้ม ในเกมที่เลเกอร์สเปิดบ้านรับ พอร์ตแลนด์ เทรล เบลเซอร์ ช่วยให้ทีมชนะหลังจากแพ้รวดมา 7 เกม เป็นการทำคะแนนสูงสุดอันดับสองในชีวิตการเล่น 11 ปี เกมถัดมาไบรอันท์ทำ 50 คะแนน เมื่อเจอกับ มินเนโซต้า ทิมเบอร์วูลฟ์ และ ทำ 60 คะแนนในบ้านของ เมมฟิส กริซลีย์ กลายเป็นผู้เล่นคนที่สองของเลเกอร์สที่ทำ 50 คะแนนหรือมากกว่าติดต่อกันสามเกม ไม่เคยมีใครทำมาก่อนหลังจากที่ ไมเคิล จอร์แดน ทำไว้เมื่อปี 1984


ผลงานในการแข่งขันบาสเกตบอล

  • คว้าแชมป์ nestle crunch slam dunk
  • เป็นผู้เล่นที่ทำแต้มมากสุดโดยทำในเกมส์เดียวอันดับสองคือ 81 แต้ม รองจาก Wilt Chamberlain ซึ่งทำได้ 100 แต้ม
  • ติด NBA all star ทั้งหมด 11 ครั้ง
  • เป็นแชมป์ NBA 4ครั้ง ปี 2000 2001 2002 2009,
  • เป็น MVP final 2009,
  • MVP 2008,
  • NBA scoring champion สองครั้ง 2006 2007,
  • All NBA first team 7ครั้ง ปี 2002-2004 2006-2009,
  • All NBA second team 2ครั้ง ปี 2000 2001,
  • All NBA third team 2ครั้ง ปี 1999 2005,
  • All defensive first team 7ครั้ง ปี 2000 2003-2004 2006-2009,
  • All defensive second team 2ครั้ง ปี 2001 2002,
  • NBA all rookie second team 1997,
  • NBA all star game MVP 3ครั้ง ปี 2002 2007,2009






สโมสรฟุตบอลเชลซี


สโมสรฟุตบอลเชลซี (อังกฤษChelsea Football Club) เป็นทีมฟุตบอลในอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) เคยได้แชมป์ลีกสูงสุดมาแล้ว 4 ครั้ง รวมฤดูกาลล่าสุด (2009-10) เป็นแชมป์ เอฟเอคัพ 9 ครั้ง แชมป์ ลีกคัพ 8 ครั้ง และแชมป์ ยูฟ่าคัพ 10 ครั้ง สนามของเชลซีคือ สแตมฟอร์ดบริดจ์ จุผู้ชมได้ 42,055 คน ตั้งอยู่ในเขตชุมชนฟูแลมบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองลอนดอน ทีมฟุตบอลเชลซีไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตชุมชนเชลซี แต่ตั้งอยู่บนถนนฟูแลม ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างเขตฟูแลมและเขตเชลซี



ประวัติ

สโมสรฟุตบอลเชลซีก่อตั้งเมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) ที่ ผับชื่อเดอะไรซิงซัน ตรงข้ามกับสนามแข่งปัจจุบันบนถนนฟูแลม และได้เข้าร่วมกับลีกฟุตบอลในเวลาต่อมา เชลซีเริ่มมีชื่อเสียงภายหลังจากที่ได้รับชัยชนะใน ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 1954–55
ปี 1996 แต่งตั้ง รุด กุลลิท(Ruud Gullit) เป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีม เชลซีสามารถคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ มาครองได้ในยุคของกุลลิทนี้
ปี 1997 เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น จิอันลูก้า วิอัลลี่( Gianluca Vialli) โดยเป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีมในช่วงแรก ในยุคของวิอัลลี่นี้สามารถทำทีมได้แชมป์ลีกคัพ และ ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพและสามารถเข้าถึงรอบรอง"ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"ได้เป็นปีทีสองติดต่อกันก่อนที่จะแพ้รีล มายอร์ก้าในปีนั้นทีมที่ได้แชมป์คือ ลาซิโอทีมจากอิตาลีไป ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มีการจัดการแข่งขัน "ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"
ปี 2000 จิอันลูก้า วิอัลลี่ถูกปลดออกจากผู้จัดการทีมและแทนที่ด้วย เคลาดิโอ รานิเอรี(Claudio Ranieri) เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ ในยุคของรานิเอรีนั้น เชลซีมีผลงานติดห้าอันดับแรกของของพรีเมียร์ลีกอย่างสม่ำเสมอ
มิถุนายน ปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ.2003) โรมัน อบราโมวิช เข้าซื้อกิจการต่อจากเคน เบตส์(Ken Bates) ในราคา 140 ล้านปอนด์ หลังการเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย เคลาดิโอ รานิเอรีซึ่งเป็นผู้จัดการทีมในขณะนั้นยังคงได้คุมทีมต่อไป ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทีมอย่างมากมาย มีการซื้อนักเตะชื่อดังหลายรายเข้ามาเสริมทีมโดยใช้เงินไปอีกมากมายกว่าร้อยล้านปอนด์ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันเชลซีไม่คว้าแชมป์ใดมาได้เลย สามารถทำอันดับ 2 ของพรีเมียร์ลีก และ เข้าสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก เมื่อจบฤดูกาลแรกหลังจากเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทางทีมจึงได้ปลด เคลาดิโอ รานิเอรี่ ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม และได้เซ็นสัญญาให้ โชเซ่ มูรินโญ่ ( José Mourinho)เป็นผู้จัดการทีมต่อมา
ปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น โชเซ่ มูรินโญ่ ซึ่งสร้างสีสันให้กับวงการฟุตบอลอังกฤษในสมัยนั้นเป็นอย่างมากกับบทสัมภาษณ์และทัศนะของ มูริญโญ่เอง
ปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ.2005) ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกครั้งแรกหลังจาก โรมัน อบราโมวิช เข้าซื้อกิจการของสโมสร และครบร้อยปีจากการตั้งสโมสร
ปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกอีกครั้งสองสมัยติดต่อกัน
20 กันยายน พ.ศ. 2550 มูรินโญ่ถูกไล่ออกจากตำแหน่ง หลังจากทำผลงานไม่ดี 3 นัดติดต่อกัน แพ้ แอสตันวิลลา 0-2 เสมอแบล็กเบิร์นโรเวอร์ส 0-0 และไล่ตีเสมอโรเซนบอร์ก 1-1 [2] และเปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น อัฟราม แกรนท์ (Afram Grant)
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สิ้นสุดฤดูกาลแรกของ อัฟราม แกรนท์ ไม่สามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ หลังจากรับงาน อัฟราม แกรนท์ พาทีมเชลซีต่อสู้แย่งแชมป์กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จนถึงนัดสุดท้าย แต่ไม่สามารถทำได้โดยนัดสุดท้ายทำได้เพียงเสมอกับ โบลตัน (Bolton)1-1 โดยถูกตีเสมอในนาทีสุดท้ายของการแข่งขัน สิ้นสุดฤดูกาลเชลซีทำแต้มได้ 85 แต้ม โดยแชมป์(แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด)ทำได้ 87 แต้ม
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เข้าชิงแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกของสโมสร กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย ในเวลา 120 นาทีเสมอกัน 1-1 ต้องเตะลูกจุดโทษตัดสิน เชลซีแพ้ไป 10-9 ประตู
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้บริหารสโมสรมีมติปลดอัฟราม แกรนท์ ออกจากตำแหน่ง
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง หลุย เฟลิปเป้ สโกลารี่ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 สโกลารี่ทำผลงานได้ไม่ดี หลังจากนำทีมเสมอต่อ ฮัลล์ 1-1 ตามหลังแมนฯ ยูผู้นำอยู่ 7 แต้ม ผู้บริหารสโมสรได้มีมติปลดออกจากตำแหน่ง
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มติสโมสรแต่งตั้ง กุส ฮิดดิ้งค์ กุนซือชาวฮอลแลนด์ผู้จัดการทีมชาติรัสเซียเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยฮิดดิ้งค์จะทำหน้าที่ควบ 2 ตำแหน่ง ทั้งผู้จัดการทีมชาติรัสเซียและผู้จัดการเชลซี และกุส ฮิดดิ้งค์ นี้พาเชลชี คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ สมัยที่ 5 โดยเอาชนะเอฟเวอร์ตันในนัดชิงชนะเลิศ
1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง คาร์โล อันเชล็อตติ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ
ปี พ.ศ. 2553 ได้แชมป์พรีเมียร์ชิพ นับเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยที่ 4
ปี พ.ศ. 2553 คว้า ดับเบิ้ลแชมป์ เป็นครั้งแรก ของสโมสร โดยคว้า แชมป์ พรีเมียร์ลีก และ FA-CUP
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 คาร์โล อันเชล็อตติ ถูกปลดจากตำแหน่งหลังทำผลงานฤดูกาลที่ 2 ของเขากับเชลซีได้น่าผิดหวัง โดยเชลซีไม่สามารถคว้าแชมป์ได้เลย[3]
22 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สโมสรประกาศแต่งตั้ง อังเดร วิลลาส-โบอาส โค้ชชาวโปรตุเกสเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่[4]

สแตมฟอร์ดบริดจ์

สนามฟุตบอลสแตมฟอร์ดบริดจ์
สแตมฟอร์ดบริดจ์ (Stamford Bridge) เป็นสนามฟุตบอลแห่งเดียวของเชลซีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาตั้งอยู่ในเขตฟูแลม ในลอนดอน โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่28 เมษายน พ.ศ. 2420 โดยในช่วง 28 ปีแรกที่เปิดใช้ ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสนามกรีฑาด้วย สนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ออกแบบโดยสถาปนิกชาวสกอต บรรจุคนได้กว่า 42,000 คน

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
1Flag of the Czech RepublicGKปีเตอร์ เช็ก
2ธงชาติของเซอร์เบียDFบรานิสลาฟ อิวาโนวิช
3ธงชาติของอังกฤษDFแอชลี่ย์ โคล
4ธงชาติของบราซิลDFดาวิด ลูอิซ
5ธงชาติของกานาMFมิคาเอล เอสเชียง
6ธงชาติของสเปนMFโอริโอล โรเมอู
7ธงชาติของบราซิลMFรามิเรส
8ธงชาติของอังกฤษMFแฟรงค์ แลมพาร์ด (รองกัปตันทีม)
9ธงชาติของสเปนFWเฟร์นานโด ตอร์เรส
10ธงชาติของสเปนMFมาต้า
11ธงชาติของโกตดิวัวร์FWดิดิเยร์ ดร็อกบา
12ธงชาติของไนจีเรียMFจอห์น โอบี มิเกล
15ธงชาติของฝรั่งเศสMFฟลอรองต์ มาลูด้า
หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
16ธงชาติของโปรตุเกสMFราอูล เมย์เรเลส
17ธงชาติของโปรตุเกสDFโจเซ่ โบซิงวา
18ธงชาติของเบลเยียมFWโรเมลู ลูคาคุ
19ธงชาติของโปรตุเกสDFเปาโล แฟร์ราร่า
20ธงชาติของอังกฤษMFจอร์ช แม็คอีชแรน
21ธงชาติของโกตดิวัวร์FWซาโลมง กาลู
22ธงชาติของอังกฤษGKรอส เทิร์นบูล
23ธงชาติของอังกฤษFWดาเนี่ยล สเตอร์ริดจ์
26ธงชาติของอังกฤษDFจอห์น เทอร์รี่ (กัปตันทีม)
33ธงชาติของบราซิลDFอเล็กซ์
34ธงชาติของอังกฤษDFไรอัน เบอร์ทรานด์
39ธงชาติของฝรั่งเศสFWนิโกล่าส์ อเนลก้า
40ธงชาติของโปรตุเกสGKเฮนริเก้ ฮิลาริโอ

อดีตผู้เล่นที่โด่งดัง

(นับปีที่เข้ามาในสโมสร)
  • ทศวรรษที่ 1990
Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
2ธงชาติของโรมาเนียแดน เปเตรสคู
3ธงชาติของอังกฤษแกรม เลอโซ
5ธงชาติของฝรั่งเศสฟร้องซ์ เลอเบิฟ
11ธงชาติของอังกฤษเดนนิส ไวส์ (อดีตกัปตันทีม)
9ธงชาติของอิตาลีจิอันลูกา วิอัลลี่
25ธงชาติของอิตาลีจิอันฟรังโก้ โซล่า
19ธงชาติของนอร์เวย์ทอเร อังเดร โฟล
6ธงชาติของฝรั่งเศสมาแซล เดอไซญี่ (อดีตกัปตันทีม)
22ธงชาติของไอซ์แลนด์ไอเดอร์ กุ๊ดยอห์นเซน
36ธงชาติของเดนมาร์กเจสเปอร์ กรุนชา
9Flag of the Netherlandsจิมมี่ ฟลอยด์ ฮัสเซลเบงค์
16ธงชาติของอิตาลีโรแบร์โต้ ดิ มัทเทโอ
23ธงชาติของอิตาลีคาร์โล คูดิชินี่

  • ทศวรรษที่ 2000
Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
11Flag of Irelandเดเมียน ดัฟฟ์
13ธงชาติของฝรั่งเศสวิลเลียม กัลลาส
16Flag of the Netherlandsอาเยน ร็อบเบน
14ธงชาติของแคเมอรูนเฌเรมี่ เอ็นจิตาป
18ธงชาติของอังกฤษเวย์น บริดจ์
4ธงชาติของฝรั่งเศสโคล้ด มาเกเลเล่
24ธงชาติของอังกฤษฌอน ไรท์ ฟิลิปส์
10ธงชาติของอังกฤษโจ โคล
13ธงชาติของเยอรมนีมิชาเอล บัลลัค
35ธงชาติของบราซิลฮูเลียโน เบลเล็ตติ
20ธงชาติของโปรตุเกสเดโก้
6ธงชาติของโปรตุเกสริคาร์โด้ คาร์วัลโญ่

ผู้เล่นที่โด่งดัง

2001 - ปัจจุบัน
ชื่อสัญชาติตำแหน่งเล่นให้เชลซีจำนวนครั้ง (ตัวสำรอง)รวมประตู
จิอันฟรังโก้ โซล่าธงชาติของอิตาลีFW1996-2003229 (44)27359
จิมมี่ ฟรอยด์ ฮัสเซลเบงค์Flag of the NetherlandsFW2000-2004136 (17)15369
เจสเปอร์ กรุนชาธงชาติของเดนมาร์กMF2000-2004104 (32)1367
ไอเดอร์ กุ๊ดจอห์นเซนธงชาติของไอซ์แลนด์FW2000-2006186 (60)24654
ทอเร อังเดร โฟลธงชาติของนอร์เวย์FW1997-2001112 (53)16534
มาแซล เดอไซญี่ธงชาติของฝรั่งเศสDF1998-2004158 (2)1606
คาร์โล คูดิชินี่ธงชาติของอิตาลีGK1999-2009142 (4)1460
วิลเลียม กัลลาสธงชาติของฝรั่งเศสDF2001-2006159 (12)17112
เดเมี่ยน ดัฟฟ์Flag of IrelandMF2003-200681 (18)9914
เฌเรมี่ธงชาติของแคเมอรูนMF2003-200772 (24)964
โคล้ด มาเกเลเล่ธงชาติของฝรั่งเศสMF2003-2008144 (12)1562
เวย์น บริดจ์ธงชาติของอังกฤษDF2003-200987(13)1001
อาเยน ร็อบเบนFlag of the NetherlandsMF2004-200767 (16)8315
จอห์น ไรท์ ฟิลิปส์ธงชาติของอังกฤษMF2005-200982 (39)1214
โจ โคลธงชาติของอังกฤษMF2003-2010188 (92)28039
มิชาเอล บัลลัคธงชาติของเยอรมนีMF2006-2010139 (29)16826
เบลเล็ตติธงชาติของบราซิลDF2007-201054 (25)795
เดโก้ธงชาติของโปรตุเกสMF2008-201042 (15)576
ริคาร์โด้ คาร์วัลโญ่ธงชาติของโปรตุเกสDF2004-2010233 (7)24010
แซม ฮันซิมสันธงชาติของอังกฤษDF2006-20101 (3)40

ผู้เล่นที่ยิงครบ 100 ประตู

พรีเมียร์ลีก-ถ้วยอื่น ๆ
ชื่อสัญชาติตำแหน่งเล่นให้เชลซีจำนวนครั้ง (ตัวสำรอง)รวมประตู
แฟรงค์ แลมพาร์ดธงชาติของอังกฤษMF2001-ปัจจุบัน449 (24)473156
ดิดิเยร์ ดร็อกบาธงชาติของโกตดิวัวร์FW2004-ปัจจุบัน209 (48)257129

นักเตะยอดเยี่ยมประจำปี 1967-2010

YearWinner
1967ธงชาติของอังกฤษ ปีเตอร์ โบเน็ตติ
1968ธงชาติของสกอตแลนด์ ชาร์ลี คุก
1969ธงชาติของอังกฤษ เดวิด เว็บ
1970ธงชาติของอังกฤษ จอห์น ฮอลลินส
1971ธงชาติของอังกฤษ จอห์น ฮอลลินส
1972ธงชาติของอังกฤษ เดวิด เว็บ
1973ธงชาติของอังกฤษ ปีเตอร์ ออสกู๊ด
1974ธงชาติของอังกฤษ แกรี่ ล็อก
1975ธงชาติของสกอตแลนด์ ชาร์ลี คุก
1976ธงชาติของอังกฤษ เรย์ วิลกินส์
1977ธงชาติของอังกฤษ เรย์ วิลกินส์
1978ธงชาติของอังกฤษ มิกกี้ ดรอย
 
YearWinner
1979ธงชาติของอังกฤษ ทอมมี่ แลงลี่ย์
1980ธงชาติของอังกฤษ ไคล์ วอล์กเกอร์
1981ธงชาติของยูโกสลาเวีย ปีเตอร์ โบโรต้า
1982ธงชาติของอังกฤษ ไมค์ ฟิลเลรี่
1983ธงชาติของเวลส์ โจอี้ โจนส์
1984ธงชาติของสกอตแลนด์ แพท เนวิน
1985ธงชาติของสกอตแลนด์ เดวิด สปีดี้
1986ธงชาติของเวลส์ เอ็ดดี้ นีดสวิกกี้
1987ธงชาติของสกอตแลนด์ แพท เนวิน
1988ธงชาติของอังกฤษ โทนี่ โดริโก้
1989ธงชาติของอังกฤษ เกรแฮม โรเบิร์ต
1990Flag of the Netherlands เคน มองกู
1991Flag of Ireland แอนดี้ ทาวเซ่น
1992ธงชาติของอังกฤษ พอล เอลเลียต
1993ธงชาติของจาเมกา แฟรงค์ ซินแคลร์
1994ธงชาติของสกอตแลนด์ สตีฟ คลาร์ก
 
YearWinner
1995ธงชาติของนอร์เวย์ เออร์แลนด์ จอห์นเซ่น
1996Flag of the Netherlands รุด กุลลิต
1997ธงชาติของเวลส์ มาร์ก ฮิวจส์
1998ธงชาติของอังกฤษ เดนนิส ไวซ์
1999ธงชาติของอิตาลี จิอันฟรังโก้ โซล่า
2000ธงชาติของอังกฤษ เดนนิส ไวซ์
2001ธงชาติของอังกฤษ จอห์น เทอร์รี่
2002ธงชาติของอิตาลี จิอันฟรังโก้ โซล่า
2004ธงชาติของอังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2005ธงชาติของอังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2006ธงชาติของอังกฤษ จอห์น เทอร์รี่
2007ธงชาติของกานา มิคาเอล เอสเซียง
2008ธงชาติของอังกฤษ โจ โคล
2009ธงชาติของอังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2010ธงชาติของโกตดิวัวร์ ดิดิเยร์ ดร็อกบา

ทำเนียบผู้จัดการทีม

Year
1933-1939 เลสลี่ ไนท์ตัน
1939-1952 บิลลี่ แบร์เรลล์
1952-1961 เท็ด เดร็ค
1962-1967 ทอมมี่ ด็อคเคอร์ตี้
1967-1974 เดฟ เซ็กตัน
1974-1975 รอน ซอวร์ต
1975-1977 เอ็ดดี้ แม็คเครดี้
1977-1978 เคน เชลลิโต้
1978-1979 แดนนี่ บลังค์ฟลาวเวอร์ส
1979-1981 เจฟฟ์ เฮิร์สต์
1981-1985 จอห์น นีล
1985-1988 จอห์น ฮอลลินส์
1988-1991 บ็อบบี้ แคมป์เบลล์
1991-1993 เอียน พอร์เตอร์ฟิลด์
1993 เดวิด เวบบ์
1993-1996 เกล็น ฮอดเดิ้ล
1996-1998 รุด กุลลิท
1998-2000 จิอันลูก้า วิอัลลี่
2000-2004 เคลาดิโอ รานิเอรี่
2004-2007 โชเซ่ มูรินโญ่
2007-2008 อัฟราม แกรนท์
2008-2009 หลุยส์ ฟิลิปเป สโคลารี
2009 กุส ฮิดดิงค์
2009-2011 คาร์โล อันเชลอตติ
2011-ปัจจุบัน อังเดร วิลลาส-โบอาส

สัญลักษณ์ทีม

ผลงาน

สถิติ

  • สถิติผู้ชมสูงสุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดพบกับอาร์เซน่อล ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มีผู้ชมเข้ามาชมถึง 182,905 คน
  • สถิติผู้ชมน้อยที่สุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดที่พบกับ ลินคอล์น ซิตี้ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906 มีผู้ชมเพียง 110 คน
  • สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ จิวเนส ฮัทคาเรจ ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 13-0 ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1971
  • สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ วีแกน แอดแลนติก ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 8-0 ในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ 2010
  • สถิติแพ้สูงสุด : ในนัดพบกับ วูล์ฟแฮมตัน วันเดอร์เรอร์ส ที่อัดพวกเขาไป 8-1 ในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1953
  • ผู้เล่นในลีกสูงสุด : รอนแฮร์ริส, 655 นัด, 1962-80
  • สถิติซื้อนักเตะค่าตัวแพงที่สุด : 50 ล้านปอนด์, เฟร์นานโด ตอร์เรส จาก ลิเวอร์พูล, กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011
  • สถิติซื้อนักเตะค่าตัวแพงที่สุด : 30 ล้านปอนด์, อังเดร เชฟเชนโก้ จาก เอซี มิลาน, มิถุนายน ค.ศ. 2006
  • สถิติขายนักเตะแพงที่สุด : 44 ล้านปอนด์, อาร์เยน ร็อบเบน ไป เรอัลมาดริด, สิงหาคม ค.ศ. 2007
  • นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดใน 1 ฤดูกาล :ดิดิเย่ร์ ดร็อกบา , 37 ประตู , 2009-2010
  • นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดในช่วงที่อยู่กับเชลซี : แฟรงค์ แลมพาร์ด, 156 ประตู, 2010
  • ยิงประตูรวมมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก : 103 ประตู, 2010

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น